วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หน้าแรก






ปล็อกนี้จัดทำขึ้นโดย นายปณิธาน เรืองไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางปรุ ตำบลคลองศก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้เป็นแหล่งให้ความรู้ภายนอกแก่ผู้ที่สนใจ มีทั้งประสปการณ์ วรรณกรรมพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น หลากหลายที่เจ้าของปล็อกอยากจะให้ทุกท่านอ่าน ดู เพื่อบันเทิงใจ และ ลิงค์ที่เกี่ยวข้องสามารถค้นหาเพิ่มเติมได้ เรืองไชย http://Ruangchai.pantown.com

สรรพลี้หวน

สรรพลี้หวนนี้ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง แต่ที่เล่าสืบกันมาว่า ผู้แต่งเป็นชาวเมืองนครศรีธรรมราช และคงแต่งระหว่าง พ.ศ.2425-2439 และมีเรื่องเล่าพิสดารออกไปอีกว่า เมื่อแต่งเสร็จแล้ว ผู้แต่งได้รากเลือดตาย

เรื่อง..สรรพลี้หวน
นครรังยังมีเท่าผีแหน กว้างยาวแสนหนึ่งคืบสืบยศถา
เมืองห้างกวีรีหับระยับตา พันหญ้าคาปูรากเป็นฉากบัง
สูงพอดีหยีหิบพอหยิบติด ทองอังกฤษสลับสีด้วยหนีหัง
กำแพงมีรีหายไว้ขอดัง เจ้าจอมวังพระราโชท้าวโคตวย
มีเมียรักภักตร์ฉวีดีทุกแห่ง นั่งแถลงชมเชยเคยฉีหวย
เจ้าคีแหมรูปโอเมียโคตวย ท้าวหวังรวยกอดินอยู่กินกัน
มีลูกชายไว้ใยชื่อไดหยอ เด็กไม่ลอเกิดไว้ให้ทีหัน
นอนเป็นทุกข์ดุกลอยิ่งคอดัน ให้ลูกนั้นหาคู่เป็นหูรี
ต้องไปขอลูกสาวท้าวโบตัก มันตั้งหลักอยู่ไกลชื่อไหหยี
เป็นลูกเนื้อเชื้อนิลนางหิ้นปลี เมืองห้างชีปกครองทั้งสองคน
หยิบกระดาษดินสอมาจอดับ เขียนแล้วพับอ่านดีครบสี่หน
ให้เสนีมีหือถือนิพนธ์ เด็กหนึ่งคนก้มพักตร์มาดักรอ
จึงตรัสใช้เสนีให้คลีหาน สูรีบผ่านบ่ายพักตร์เถาะดักหยอ
ผมเป็นโรคเหน็ดเหนื่อยหัวเดือยปอ รักษาพอมาคลายกินหายควี
แต่นายใช้จำกัดดัดไม่ขอ ถึงเด็กรอต้องไปถึงไหหยี
รักษาโรโคตวยพวยทันที จากบุรีเร็วพลันดันไม่รอ
เข้าป่าแกแลทั่วกลัวผีเห็น เดินเย็นๆตัดตรงใต้ดงหลอ
พบสระศรีบัวชุกดุกขึ้นออ เด็ดสองลอดุ่มกลิ่นหอกหมินดี
ชะนีหงส์ลงดินลงกินน้ำ เดินมุ่งตามเห็นรอยหอยกับหมี
พบเบื้องอ่างถางใหญ่ไหของคี ใครมาตีแตกสะเก็ดเหมือนเด็ดยอ
เที่ยวจรดลยนเค็จไม่เสร็จเรื่อง ใกล้ถึงเมืองหิวจี้ไม่มีหอ
อดข้าวน้ำสามวันดันทั้งวอ บอบเสียพอตัวกูเรื่องหูรี
พบดอกปอกอดำจำต้องเด็ด ยีให้เหม็ดเกลี้ยงวาวเหมือนหาวสี
บรรลุถึงเขตทางเมืองห้างชี เจ้าธานีหัวด่างเป็นสางคลา
กำแพงก่อต่อด้านทหารเฝ้า เสียงคนฉาวเข้าไปถึงใดหลอ
พวกเสนาเซ็กเซ็กเด็กมารอ มายืนออถามดูแล้วหูดี
เราจากไกลไฉแข็งเก่งนักหนา ถือสาราจะเข้าไปให้ไหหยี
ท้าวโบตักจอมวังยังพอดี เจ้าหิ้นปลีคีหันหรือฉันใด
นายข้อดีว่าอยู่เปิดตูแอด ตาดเกือบแขดเสียงเบียดเรียดไม่ไหว
นายดักหยอรายงานแล้วผ่านไป เห็นข้อไลนั่งกันกับภรรยา
ค่อยคอด้อมน้อมกายถวายสาร คลีถึงหานวันนี้ดีเข้าหา
เนตรยนเค็จเสร็จสรรพพรับสารา ในวาจาโคตวยรักด้วยกัน
ได้จากเมืองห้างกวีเจ้าคีแหม มาพูดแย้มบุตรีไปดีหัน
ให้ใดหยอขอดูเป็นคู่กัน โบตักนั้นหิ้นปลีพลอยดีใจ
เรียกลูกสาวขาวเด็ดเหมือนเห็ดยาง พิศพางค์รัศมีราศีไห
ผู้ใดยลทุกเค็จมีเม็ดใย พอเติบใหญ่เป็นทุกข์เพราะหุกลี
ได้ฟังพ่อถอดอกเดินออกหา นั่งวันทาลกลกน้ำหกสี
เรียกลูกมาเป็นไฉนเรื่องไหคี ได้ลูกนี้เข้าใจเพราะใดคอ
เจ้าฟังพ่อยอดกจะยกเรื่อง อย่าคอเดืองเล่าไปเรื่องใดหยอ
พ่อจะยกหกเท็จเรื่องเด็ดยอ เด็กไม่ลอข้ามแดนมุ่งแม่นมา
ท้าวโคตวยเป็นพ่อมาขอเด็ก ถึงตัวเล็กก็พอดีไม่สีหา
นี่ตัวพ่อคอดันลั่นวาจา ตัวเจ้าอย่าขอตัดได้นัดงาน
สุดแต่พ่อคลอดำทำไฉน กี่จิ้มไหกับข้าวของคาวหวาน
หนึ่งตกข้าวคลีหุกคลุกน้ำตาล สำหรับงานเลี้ยงคนทุกดนคอ
แล้วหูหมีฉีหีกฉีกให้เล็ก ไว้จอเด็กพอดีมีทุกหอ
หอยกับหมียีหำยำให้พอ ดาวให้ยอไข่เป็ดเด็ดให้ยำ
ลูกมะกอกดอกตอขอให้ดูด ฉีเจ้าหูดเส้นหมี่เอาสีหำ
แกงตังหุนพรีขี้หิกใส่หยิบตำ ส้มกอดำเชือดตอยใส่หอยจี
ควายหนึ่งขาหาหมีใส่ดีหม กวนขนมยาเหม็ดเห็ดฉูฉี
ต้องฆ่าไก่มัสการหานเจ้างี ดูเดือนปีถึงวันดันคอยรอ
ขึ้นสิบสี่ปีเหิดเปิดโอกาส จำอย่าพลาดแน่ประจักษ์นะดักยอ
รีบไปบอกโคตวยเตรียมหวยคอ เราดักรอทำงานการวิวาห์
นายดักหยอขอลาคีหากลับ น้อมคำนับทันทีขอลีหา
รีบอย่าเหม็งเด็งฉอไม่รอตา หนึ่งพลิบตาถึงวังดังเข้ารอ
เห็นคีแหมแย้มยั่วกับผัวรัก นั่งเชยพักตร์นิ่มนุชแม่ดุจหลอ
เสนาเฝ้าเล่าเสร็จเรื่องเด็จยอ นางชอบพอหันไหเข้าไยดี
ว่าแต่งงานสิบสี่ต่อปีเหิด ลูกที่เกิดพาไปให้ไหหยี
การตกเรารู้สิ้นเรื่องหิ้นปลี ถึงวันดียกพลทุกดนคอ
พร้อมเจ้าบ่าวแม่พ่อที่ขอดัก ให้ชวนชักกันไปกับไดหยอ
เตรียมยกพลเจ้าบ่าวดาวยอ ๆ เลี้ยงให้พอบ่าวสาวหาวเหม็นคี
อยู่ในเขตเดือนนี้ยังปีหิด เรื่องที่คิดไว้พลางไม่ห่างถี่
ขอแบ่งรักพักรอการหอดี ยกโจรีต่อดั้งคิดหวังรวย
จะกล่าวข้อจอโดนเที่ยวโผนผก ขอกล่าวยกถอดอกกับคอกถวย
ทั้งสอดองสองนายไม่ไข้ป่วย หวังแต่รวยเที่ยวปล้นทุกหนคี
พร้อมทั้งคู่อยู่ใต้ไม่หยีหำ พอเย็นค่ำกินเหล้าแกล้มหาวสี
หยิบน้ำพริกมาตั้งนั่งจอดี พอเมาจี้ขอแดงแถลงกัน
ว่าคืนนี้จีหีบจีบสักบ้าน ทั่ววิหารบ้านมีแถวคีหัน
เมื่อกินแล้วอย่ารอนั่งคอดัน เสกแป้งยันต์เป่าลงให้ดงคอ
แขวนทิศหมอนสำคัญลงยันต์เก็ด ผ้าชีเห็ดอย่างดีใส่ผีหอ
หยิบปืนพกนกสับใส่ดับคอ พอดักยอคนที่จากที่มา
พอึงเมืองโบตักแล้วพักหยุด เข้าจีหุดไฟส่องทุกห้องหา
ยืนกินว่านดานวอเอาทอดา พอขึ้นตาตัวแดงรู้แห่งดี
เป่าอาคมลมฉีเหมือนผีหูด ลูกหลักฉูดถูกหาของทาสี
น่านอนแอบชั่วคราวหาวเหม็นคี เห็นแต่คลีติดไหเข้าในวัง
ถึงโบตักอัปรีย์นอนทีหับ กำลังหลับนิ้วชี้นอนหยี่หัง
เก็บขอยหมนจนพอยอดัง ๆ เจ้าจอมวังฟอดิ้นค่อยลืนตา
เสียงปืนลั่นทันทีนอนผีหิง กลีบนหิ้งพอดีมือควีหา
ลุกตะลึงหึงหมีเรียกธิดา พวกโจราเข้าวังดังเอาคลอ
เข้าบังคับจับตัวหัวกับผี เอาหีบคีไม่หลุดดุจเกือบหลอ
เก็บของใหม่ไหหมีทุบตีต่อ ใดไม่ปอยอมตายกลัวหายตี
แม่หนีเห็บเจ็บจี้ยิ่งคีหัน โกรธตัวสั่นตบหังเข้าดังผี
ท้านแค้นในไลเข็ดเอาเห็ดยี เข้าราวีรอดั่งประทังกัน
ฟอกับดาดหวาดหวั่นหันดังสี ถูกหูหมีร้องฉาวเข้ากี้หัน
ถ้าไม่ตายย้ายเด็ดให้เหม็ดยัน กระโดดฟันดาบกินเข้าหิ้นปลี
ร้องอึ่งมีสีเหียวปลายเตียวแขด ถึงเต็กแหลดอยู่ไม่ติดโลหิดฉี
เมียม้วนดิ้นสินใจพึ่งไหคี บ่าของพี่ขึ้นรับต้องดับคอ
ฝ่ายลูกสาวไหหยีหนีเถอะพ่อ หยุดดักรอโจรีจะขี่หอ
สู้ไม่ไหวพ่อก็เหนื่อยเพราะเดื่อยปอ ดวนก็นอชะแรลงแก่งอม
พลางร้องใช้ไหหยีรับหนีหัน แม่เจ้านั้นเป็นผีผู้จีหอม
ยังคงแต่ตัวพ่อเป็นจอดอม สู้อดออมจอดนไปจนตาย
กำลังรุมดุมสอเข้าทอดับ จะจีหับไหหยีวิ่งหนีหาย
พาหิงวี่ตีหัวความกลัวตาย ไปแอบกายบังตอใต้ยอดิน
พวกโจรีตีหามวิ่งตามสาว พอลมว่าวพัดฉีได้กลี่หิน
พบแต่รอยขอยหมนหล่นกลางดิน ยิ่งหมีหินแถวทางลาบหางนี่
พบสักทีคีหันได้ยันเก็ด จะยีเท็จวิ่งศูนย์พาหูนสี
เที่ยวยีแหงแดงขอเดินยอดี จับไหหยีฟังข่าวใต้ดาวยอ
พ่อเป็นตายไม่รู้เพราะหูกี ยังเห็ดยีก็ไม่เก่งเด็งจะฉอ
ครั้นกลีหับกลับบ้านดานแทงวอ จากใต้ยอยีหายพากายมา
เป็นกุศลหนคีตามทีหัน กระทั่งทันโยคีฤาษีหา
เห็นกุฏีปลูกล่อศาลอดา ค่อยพีหารีหูไหว้มูนิน

จะยกข้อโยคีฤาษีแหม อยู่ที่แคมกุฎีนั่งกีหิน
เป็นอาชีพชอบพอไม่กอดิน รักษาศิลเข้าฌาณสังขารใย
เห็นสีกานารีนั่งมีหอง เข้ามาร้องที่นี่ใครตีไห
เห็นหาวสีหลีหามพ่อถามไต่ มุ่งตาใสลีแหมาแต่ตัว
พ่อแม่ยายย้ายเข็ดไม่เสร็จเรื่อง เพราะรีเหื้องจากผีคิดหนีหัว
อยู่ไม่ได้รูปหล่อหลบหอดัว เลยปลีกตัวพีหามาถึงตี
ฟังโยคียีแหมพูดแยัมหน่อย มีน้ำหอยนีไหตกไหลฉี
เอามือยีคลีห้าวหามเท่าชี เล่ามุนีฟีหังอย่างกังวล
ท้าวโบตักเห็นพ่อหล่อกว่าเด็ก ชื่อไม่เล็กมั่งมีไม่จีหน
ฉันไหหยีชอบพอทุกคอดน เพื่อนทุกคนเห็นทักมาดักยอ

ต้นฉบับเลอะเลือน

แม่ถูกฆ่าพ่อถูกตีเอาดียอ ดังในคลอกวาดเก็บน่าเจ็บใจ
ลูกขอพักที่นี้พอฝีหาก ทนอดอยากสักทีตามจีไห
พ่อยินดีพีหาหลังคาใน ห้องสีไหต่อดั้งที่บังกาย
อยู่ที่วัดหัดวิทย์สอนหิดสี หอดีๆ หัดเทศน์วิเศษหลาย
เรียนคาถมดมคอมีหลอดาย พ่อสอนให้ทุกประการถึงหานวี
จะเหาะเหินเมฆีวิถีหาง ถ้อว่าพลางลอยสูดขึ้นหูดถี
เจ้าตาบอกหมายนั่งหำดี ทำฤทธีเหาะไปพ้นใดกอ
ถ้าสูงนักสกุณีจะจีหิก พอหายพลิกสู่ที่ธรณีหอ
ได้ทุกทางไม่ส่งใครด้งจอ ถึงดาวยอตีหัวไม่กลัวใคร
จนค่ำดึกฝึกหัดยัดข้างเว็ด ย้ายจนเด็จกับฤาษีนั่งคลีไห
ขอหยุดบทจดต่อเรื่องขอใด กล่าวต่อไปโบตักทรงศักดา
เข้ามากอดหิ้นปลีนั่งคลีหำ นับว่ากรรมของพี่พระยีหา
เคยยอดีรีหูอยู่กันมา เจ้าลอดาแล้วน้องให้หมองนวล
เมื่อบุญยังดี ๆ ปีกับไห ยามไปไหนตัวพี่เคยชีหวน
ถูกถอดอกตอกตำยำยียวน ไม่ถึงควรถึงตายแม่หายควี
ยกภูษีปีหิดแล้วปิดศพ ชาติหน้าพบกันเล่าเถอะหาวสี
แม้นตายไปข้างหลังยังยอดี เก็บหิ้นปลีทำศพพอจบเดือน
เธอไว้ทุกข์ดุกลอเป็นบ่อรัก เฝ้ารีหักโศกีไม่หมีเหือน
ใกล้พอดีวิวาห์เขามาเตือน พอถึงเดือนบุตรโตท้าวโคตวย

แสดงยอตอตั้งเกิดดังขลอ ดุกมันลอเต็มที่เรื่องคีหวย
นายใดหยอรอดักรักหวังรวย พร้อมโคตวยลูกบ่าวเขาเล่ามา
ว่าบังเกิดฉาวเฉินเหินขาวผี จับเห็ดยียิงปล้นเข้าค้นหา
ยิ่งร้อนหนักดักรอรีบพอดา ใช้บุตราไดหยอแขบกอดิน
รับข้าวน้ำหามชีฉูฉีเห็ด เนื้อใยเก็ดหายควีกีกับหิน
;แขบไปหาอย่ารอหิ้วหม้อดิน ใสน้ำกินตัดทางเมืองหางชี้
รีบครรไลใดหลอคอเกือบหัก บุกรีบรักร้อนใจด้วยไหหยี
จะแต่งงานยานเว็จไม่เสร็จที เกิดธุลีขอดัดน่าขัดใจ
ตัดทุ่งกว้างทางใหม่ป่าไทรโขก ต้นขลีโหกหัวหมีไม้พีไห
ล้วนหุมยีรีหาพ้นหญ้าไทร น้ำคลอไดไหลคล่ำเป็นลำธาร
ลงหวิดตักลักบ้างพอสางร้อน ข้ามดีหอนหาวยีลำธีหาร
อัศจอขอดันเกิดบันดาล รู้เหตุการณ์ว่าวัดไม้ดัดงอ
ต้นสีขาวยาวรีข้างกีหุด ยืนก้มมุดถามไถ่เรื่องใดหลอ
ช่างคนไทยหรือเจ๊กให้เด็กกอ ใดขึ้นปอบนกุฎิขอหยุดกัน
ได้จากบ้านมาไกลผมใดหยอ ถอนใจผลอพอดี-ฤาษีหัน
นั่งเสกดินสอพองป้องเก็ดยัน ถ้าคอดันใส่หายไว้ใช้เอง
นี่เจ้ามาเพียงนี้ตามคลีไห จงปราศรัยกับฤาษีอย่ากรีเหง
เจ้าอย่าหกยกคำทำกรอเดง คนกันเองเล่าพอได้ยอดี
ผมเที่ยวตามคู่หมั้นจนดันสอ หญิงที่ขอนี่หรือชื่อไหหยี
ถูกโจรปล้นตกใจเอาไหคี ผมรีบรีข้ามแคว้นถึงแดนลอ
เรื่องนารีซีหักพักในกุฎิ จะยอดุจสีไหคร่าวไดหยอ
เรียกพี่หามานี่เอาดียอ ด้งมันจอนั่งถ้ามาเร็วๆ
สาวดุ้งตื่นพอดีฤาษีแหบ ลุกขึ้นแขบทันทีเจ็บอีเหว
เอื้อมหยิบหวีสีหางอย่างม้าเร็ว แต่งเลวๆพอเสร็จเสด็จยัง
ถึงมูนีหวีให้ภิปรายถาม ใครตีหามานี่ระวีหัง
นี่คู่หมั้นรูปหล่อเขายอดัง งานข้างหลังเขาจะแต่งกับแหงดี
เป็นคู่รักใดหยอน่าถอดอก สาวยิ้มออกหัวฉาวหาวถีๆ
เล่าแต่หลังดังฟอจบพอดี ตัวผมนี้จะพาคนเอาดลยอ
จะแต่งงานต้นปีมารีหับ เกล็ดไปยับเมืองใหญ่บ้านไดหยอ
พ่ออย่าขัดตัดคำตำติดรอ เด็กนั้งคลอหมีเห็นนึกเอ็นดู
ไม่หยุดรอดีฤาษีให้ พอกราบไว้มูนีนั่งดีหู
สวัสดีตีหามตามคำครู วันกินอยู่หอดีอย่ามีภัย
ทั้งกกกอปอดีอย่ามีหมอง ให้เงินทองเกิดมีทั้งสีไห
รับเอาพรของพ่อลูกขอได ลุกขึ้นไปเดินตามพาหามตี
แล้วบีหอกออกรกยอดกหน่อย ชมอึกอ้อยซีหำต้นดำหมี
กรูดฝีไหใยเค็จชมเห็ดชี ด้นยอดีเดือยปอลูกกอดิน
นนทรีย์ห่มนมหวันต้นจันทร์สัก ไม้บ่ารักแหนหยีย่านปีหิน
พยอมเค็ดเหม็ดหมันลูกจันทร์อินทร์ เต็มแผ่นดินแน่นไปหนัดใดกอ
ชมไปพลางย่างเค็จพบเห็ดงอก ถอกับดอกชมเล่นให้เด็นหอ
ดอกไม่ดียีเห็ดเด็ดเกือบลอ ดอกไม่ปออย่าทุกข์เจ้าหุกลี
เห็นไหหยีหนีเหื่อยเดินเมื่อยเหน็ด บุกป่าเห็ดดอกขาวเหมือนหาวสี
หยุดกันไปใยเป็ดถอนเห็ดยี เอาหีบคีพอเสร็ดหายเข็ดเลย
ระอาเอือนเหมือนไข้ไม้ตีหอก มันแทงยอกเจ็บจี้หนามตีเหย
โลหิดฉีหวีห่างยกย่างเลย สาวไม่เคยหนามตำเข้าหำดี
พอถึงวังยังที่ต้อนรีหับ จะขอจับโคตวยแม่หวยสี
เห็นลูกบ่าวดาวยอว่าออดี หัดถ์ชูลีไหว้พอยอดัง ๆ
ค่อยยกย่องสรรเสริญเกิดเหินหมี เมื่อลูกนี้อยู่ไปในวีหัง
หอบเงินทองของเสร็จในเว็จยัง ของคลีหังวังทองหัวดองทอ
พ่อรู้ข่าวฉาวเฉินพาเหินดี นางหิ้นปลีแม่เจ้าถูกดาวหลอ
ท้าวโบตักย่อยยับดับเกือบพอ เดือยพานอยกธงเกือบปลงชนม์
พ่อให้ลูกตามไปรับไหหยี พาหับกลีวีหายไม่ไร้ผล
ไปแต่งงานบ้านพ่อเขาจอดน ไม่มีคนขอดัดจะจัดการ
กัดกินเลี้ยงที่นี่วาวีหา สุริยาทีเหียมเตรียมของหวาน
ถึงปีเหือนเดือนจอพอประมาณ มาในงานทุกคนทั่วดนคอ
พวกแก่เฒ่าบ่าวยักนั่งดักล้อม พรีทุกห้อมมากมีนั่งอีหอ
บ้างชูแว่นจุดเทียนนับเดียนวอ เด็กมารอชีเหินเจริญพร
ชะยันโตโยเห็ดกันเสร็จสรรพ เตรียมห้องหับวันดีนีกับหอน
หยุดรอดักลักบ้างวางไว้ก่อน จับเป็นตอนต่อไปใดจะคลอ

พอค่ำดีสีหำดำทั่วจบ ไม่หลีหบนอนในกับไดหยอ
เกิดฝนตกสกเส็กเด็กไม่ซอ เด็จจะยอจีหุกนอนคลุกคลี
มือฟีหาฟ้าแลบอยู่แปลบปลาบ เด็กซีหาบชายฝาหลังคาสี
พระพายฉัดพัดพวยหวยติดคี หันยังมีนอนทนให้ดลยอ
พอเสร็จสรรพหลับดีตอนผีเหย เงียบไปเลยเข้มแข็งปลายแด็งฉอ
ตำนีหารจารย์เพิ่มเอาเดิมต่อ ดั้งมันยอตีหั้งเรื่องยังมี

ยกแม่หม้ายร้ายชื่อคนลือดัง ยีแต่หังไม่เล็กชื่อเห็กหลี
เกิดตัณหากล้าพอไม่มอดี ไหขึ้นคลีไม่มีคู่จะอยู่ครอง
ผัวฉันตายหายไปชื่อไคหยวย เคยอยู่ด้วยหลายปีเฝ้าคลีหอง
ไม่มีโรคติดต่อดายขอดอง พอคนองเข้มขันเกิดหันคี
หาไม้แทงแยงเกล็ดวันเจ็ดแบก หิบไม่แตกกล้าแข็งแคมแหงหวี
ทนไม่ไหวใยเข็ดไม่เม็ดยี ขบทุกทีมากคนพอดลยอ
ต้องจากที่รีหูเมืองกูเกิด พอปีเหิดแล้วอวดดีนั่งยีหอ
เคยผลาญมามากมายดายชอ ๆ เด็กไม่รอเคยตายมาหลายคน
แม้นอยู่ไปที่นี่คับคีแหบ หาชายแอบสักทีได้ยีหน
รีบพีหาระเห็ดได้เค็ดยน ตัดถนนที่ห่างยกย่างมา
บุกป่ารกหกฟีเดินสีแหบ ไม้ถอบแถบดีปลีกันชีหา
ออกทุ่งกว้างห่างดีมีชะตา พบโจรป่ายีหายมาใต้ซวย
ฝ่ายโจรังหังยีออกหลีหัก มานั่งพักคีโหกเป็นโชคสวย
จะได้ชมสมปองสองคอดวย ผลอำนวยมีถึงที่นอน
แม่หนูจ๋าให้พี่ขอจีหูบ พอเห็นรูปรักจี้แม่หลีหอน
ชื่ออะไรถีหามถึงนามกร จากนครเมืองแมนเจ้าแดนลอ
ฉันล่ำเล็กเห็กหลีจากรีหู เป็นเมืองอยู่ไม่เก่งเด็งขี้ฉอ
ผัวฉันตายหลายปีดีไม่มอ ใครดักยอกลี่หอมจะยอมตัว
ได้ฟังคำหำดีไม่หนีหาย พี่อยากได้เห็กหลีเป็นผีหัว
เจ้าอย่ามีสีหาพี่พาตัว ทำกลอดัวละอายมิใช่ดี
แม้นไม่รักวันนี้ถูกถีหุ้ง มัดให้ยุงกัดคันยืนหันสี
เราเคยล้างหลายเด็กเห็กลี ๆ แหนบี ๆ ใต้เหนือไม่เหลือใคร
หากท่านมีกำลังหวังดีให้ อันตรายธุลีข้างนีไห
ยอมเป็นผีหนีหายไม่หน่ายไป สาวหักใจยอมโดยให้โจรจี
ยิ่งชอบพอถอดอกกับคอกถวย อยู่ใต้ซวยนอนแถลงกับแหงหวี
พอดุกลอเป็นทุกข์เกิดหุกลี ท้องเมฆีลมพัดกระจัดพัง
ใบไม้ขูดบูดรักเกือบหักแหก เสทือนแยกธรณีทั่ววีหัง
อาโปในไหลสอบนหลอดัง พวกชาววังยิกโหนเข้าโคนคลี
พอรุ่งรางสว่างใสเสียงไก่เขา กากระเหว่าร้องอยู่ว่าหูหยี
โจรทั้งสองสิ้นชีพเพราะหีบคี ไม่สิ้นดีรอดมค่อยสมกัน

จะขอโปรโบตักคอยลักเบีย ตั้งแต่เมียเป็นผีชีวีหัน
ยิ่งกว่าถูกคลีหึนเกิดมึนมัน สอแต่ดันค่อยเขยิบขึ้นเติบแรง
พอหิ้นปลีหนีหายมาตายเสีย แต่แรกเมียไม่มีที่จะกวีแหง
ไม่มีเมียไม่สุขยอทุกแดง จะหุงแกงไม่ได้ผลเหมือนหนคี
เกิดกำลังบังอาจต้องตลาดปลอก แตกขาดออกเกลี้ยงผาวอยากหาวสี
วันเจ็ดปลอกไม่พอย่านปอดี หาไหคีมาประดับสำหรับครัว
ไว้ใส่น้ำแก้ร้อนเป็นบอนรัก เย็นชื้นอักแน่นจี้ยังมีหัว
ออกสืบถามยามเพล็ดหวังเม็ดยัว ขาดสวนครัวหิงหยีเสียปีเดียว
ออกจากที่มีหันเดินคันหัว สืบให้ทั่วคีหังนั่งคลีเหียว
แม่หม้ายสาวหาวสีมีคนเดียว ไม่ข้องเกี่ยวมากมายเสียดายคอ

สองโมงเช้าเห็กหลีหนีถอดอก เก็บศพซอกสองผีใต้ยีหอ
ออกห่างผีมีเหินแล้วเดินต่อ เจอะดาวยอโบตักเอาหักดี
ร้องถีหามถามทักที่รักหยูด พี่สัยหูดอย่าหลอกบอกเห็กหลี
ท้าวโบตักอักหย่อนพูดอ่อนดี ว่าหายดีเป็นหม้ายมาหลายเดือน
ได้ของอื่นหมื่นแสนในแดนสอ ให้ชอบพอใจพี่ไม่หมีเหือน
นี่เจ้าดีไม่มอเที่ยวตอเดือน ทิ้งบ้านเรือนหาผัวให้หัวตี
ฟังคำพูดหูดถีคุณพี่ถาม เห็กหลีหามตอบพลันพูดหันสี
อยากหาผัวตัวหนุ่มเอาหุมดี ฉันยังมีเรี่ยวแรงให้แดงยอ
หม้ายต่อหม้ายย้ายเด็ดไม่เสร็จเรื่อง นั่งปลีเหื้องไม่ให้ไปเอาไดหนอ
เราใช่เหรี่ยงเชียงใหม่ใดคนทอ ดาวก็ยอกลับหลังหังก็ยี
ไม่บัดสีดีหูเป็นคู่เคล้า นั่งคลี้หาวกลางทางยกหางถี่
รอกับดวนชวนนางกลับห้างชี เป็นเมืองพี่ใหญ่กว้างเหมือนด้างชอ
ค่อยชมพลางเดินพลางป่ายางเกว็จ ผักชีเห็ดแหนบีคนทีสอ
แก่นขลีหาดหนาดเหนียดเดียดเข้าซอ ดังถึงวอพานางเข้าปรางค์นอน
น้ำห้อยยีสีเหงื่อติดเสื้อปราด คลี่หมอนสาดตีหังนั่งวีหอน
แม่เห็กหลีหนีเหื่อยลงเมื่อยนอน ท้าวเอื้อมกรจีหับไม่หลับลง
กลีเรื่องหุ้มดุมขาดกระดาษปะ ปอกับดะคืนนี้ได้บีหง
พลางยวนยีอีแหบล้มแนบลง นอนเล็ดยงกอดรัดยกดัดงอ
เหมือนเอายางวางใส่ในกระบอก ขบไม่ออกปล้ำกันปลายดันสอ
ฝ่ายเห็กหลีไม่เหนื่อยเดือยไม่นอ เด็ดคอยยอหยุดพักไว้สักคราว
ถ้าสีแหบแสบตับหลับเสียเถิด อย่าปีเหิดแมลงหมีจะคลี่หาว
เห็ดให้หมอหอเด็นเป็นคราว ๆ ตกเรื่องราวข้างท้ายแม่หายนี

ยกไหหยี ใดหยอนอนคลอดัก เฝ้าร่วมรักสมสองหองเป็นหนี
จะผัวไปไหว้หายแม่ยี สิ้นชีวีโจรนั้นเอาดันฟอ
ยังแต่พ่อต่อตั้งคิดหวังเหวิด กลับบ้านเกิดคลีไหชวนไดหยอ
ไหนว่าเจ้าเหือยปีเพราะดียอ หยุดพักรอลีห้างให้สางคลาย
พี่จะหายาดีมายีใส่ ร้านหมอไทยแหนบีเขามีขาย
ถ้าแผลมีหวีหางบีบวางปราย อย่าปล่อยไว้แช่ดองให้หองพี
ตั้งแต่พี่ยีเห็ดท้องเจ็ดเดือน ไม่อีเหือนไปเลยไหหยี
พอประสูติดูดรอสิ้นข้อดี ว่าลูกนี้ยีหิงเป็นหญิงชาย
ใกล้จะถ้วนด่วนกอพอครบสิบ กลัวลีหิบยีหังนั่งยีหาย
เจ็บเห็ดหวีสีหาวตอนเช้าบ่าย นอนยีหายสีแหบนึกแปลบใจ
หมอลีแหแต่หยำประจำบ้าน คลีบอกหานว่ามานี่วิไห ๆ
น้องเจ็บจี้หนีเหงือยเสื้อเปือยใน ทนไม่ไหวสีแหบแขบให้มา
ฝ่ายเจ้าผัวใดหยอใช้หมอดัด ช่วยปีหัดสักทีพอซีหา
แพทย์ใกล้ไกลไหคีรีบปรี่มา เข้าฟีหาคลีหำขยำลอง
พอยามดีปีหายเกือบได้การ พวกแม่ท่านหำดีนั่งมีหอง
ลมกำมัดดัดพอเป็นคลอดอง น้ำนีหองตีหามคลอดตามกัน
บริสุทธิ์บุตรี แม่ลีหือ ตัดสายดือพอดีล้างสีหัน
ถ้าหอเด็นเป็นชวยได้สอดัน ช่วยปล้ำกันป้อนยาน้ำหาที
ทาขมิ้นหิ้นหวีสีตามไห ปล้ำฟืนไฟให้ผิงพวกหิงหยี
นอนปีเหิดเกิดง่ายเหมือนหายคว หำไม่ชี้หนีเห็ดอยู่เจ็ดวัน
กอดบุตรตรีหวีเหียงนอนเคียงข้าง เฝ้าลีหางชีหมให้ดมถัน
ใดห้าปีสี่เห็ดเหม็ดนึกยัน ตั้งชื่อพลันลูกสาวแม่หาวคี
ฝ่ายเจ้าพ่อยอดังนั่งเฝ้าลูบ ก้มจีหูบค่อยชมผมหุ้มหยี
ยังไม่กลับบ้านพ่อเฝ้ายอดี ได้สิบสี่เชี่ยวพ่อได้หลอดาว
ไว้นั่งเล่นเห็นดีเอาคีหีบ กระโตนบีบช่วงสีแสงวีหาว
พออยู่ไปใจรักยักบ่าว ๆ ทนชั่วคราวค่อยถ้าสิบห้าปี

ยกจอมจักรนัคโรถึงโบตัก เป็นทุกข์หนักจอมใจถึงไหหยี
กระโดดโผนโจรปล้ำแม่หำดี วิ่งหันสีบั้นบุกถูกรุกราณ
ไปเจ็บไข้ย้ายเด็ดหรือเข็ดแค้น ยังคีแหนไม่กลับที่บุรีหาน
บอกเห็กหลีหนีหัดต้องจัดการ สืบข่าวสารให้แจ้งทุกแหงดี
เจ้าอยู่วังย้นเก็ดวันเจ็ดหน อย่าจอดลค่อยระวังเฝ้าหังหนี
ตามรูปหล่อฉอดุจพระบุตรี สั่งเห็กลีเมียรักป่ายพักตร์มา
อยู่ข้างหลังนั่งคอยคิดถอยหมอน ความเดือดร้อนเกิดมีสีๆ หา
นอนยีหัวชั่วคราวเฝ้ารอดา อยู่ ๆ มาศูนย์เปล่าแล้วเหารี
ทั้งสมบัติเงินทองดองเจ้าขอ ได้ไม่พอลูกสาวหาวยังสี
อีกสิ่งหนึ่งมีหลานเกิดหานปี หองพี ๆ เสียหายไม่ได้เรา
ทั้งเงินทองของมีปีบนหิ้ง ให้ลูกหญิงทั้งนี้เรากีเหา
คิดผีหายฆ่ามันจะบรรเทา เหลือแต่เราอยู่กินแทนหิ้นปลี
ริษยาฆ่าตีให้หมีหด กลืนสกดนิ่งในรอไหหยี
ขหยีหับดับเกียงทำเหียงบี เรื่องพอดีไดหยอลาพ่อมา
ชวนลูกสาวหาวคีเดินคลีไห เด็กพอใหญ่สิบสีเข้าปีหา
ออกตรีเหียมเตรียมพ่อพารอดา พี่แต่หาสองแผ่นแหนบี ๆ
พร้อมทั่งเมียลูกพ่อเดินยอดัก บุกรีหักรักแบกป่าแหกหลี
หนามปีหาดตาดแขดเข้าแหดดี โลหิตฉีนีไหชวนใดปอ
ใกล้ถึงเมืองห้างชีหนี ๆ เห็ด อย่าตามเท็จชมชี้บอกหนีหอ
หยุดสักทียีเหียนเดียนตามวอ ข้ามดอนตอปอคิดเจอะบิดา
ยืนสังเกตเนตรยลลงบนเค็จ น้ำตาเล็ดไหลรี่ดังฉีหา
เจ้าหนีเห็ดไปใยพาใครมา ดูหน้าตาผึ่งผายเหมือนหายควี
นี่คือลูกนี่ผัวแล้วหัวเราะร่อ ดอกผึ่งถอได้ฉันคราวหันสี
เมื่อปีเหิดเกิดนานรูหานบี ชื่อหาวคีสวยเด็จไม่เค็จใย
ยืนถามพ่อรอดูใครอยู่วัง ทิ้งคลีหังหมีหอยของน้อยใหญ่
เจ้าอย่าทุกข์ดุกลอเป็นยอใด อย่าตกใจเวียงวังหังพ่อยี
พ่อเพิ่งมีเมียใหม่ใยเไม่เหว็ด ย้ายจนเข็ดรุ่งเผ็กชื่อเห็กหลี
ให้มารับหลานสาวแม่หาวคี พร้อมไหหยีลูกสาวให้เข้าไป
ทั้งลูกสาวคนนี้ไปยีเห็ด ปรึกษาเสร็จเห็นดีข้างนีไห
ค่อยหันหลังดังขอชวนปอได ประเดี๋ยวใจผีหึงมาถึงวัง
เห็นแม่เลี้ยงเหียงบีนั้งกีเหา เธอกอเดาพูดดีแล้วอีหัง
พี่คิดถึงหึงมีอยู่ที่วัง กลัวร้อยชั่งดิ้นรนเรื่องดลยอ
พอมาถึงไหหยีลูกสีหาว ไหว้พ่อเฒ่าเข้าไปพร้อมไดหยอ
เคารพสามถามไถ่ใดลูกคอ นิยมยอชมเชยคลำเหยลี
เต่ากับแรดของนี้ผูกจี้ห้อย พลีกับหอยทองแท่นค่าแหนสี
ธำรงน้อยก้อยใส่เท่าไหกี ให้แหงดีเป็นหลานที่ผ่านมา
เหือกติดปลีฉีหีกอีกลูกเขย ไม่ว่างเฉยลองมีบันดีหา
เรื่องเงินทองของพ่อไม่สอตา เครื่องเสื้อผ้าแพรพันหันคี ๆ
เมื่อลูกชอบมอบให้ถ้าย้ายเด็จ หมีทุกเห็ดแก่เฒ่าหาวสี ๆ
เข้าดับบ้านดับช่องห้องดี ๆ ให้พวกนี้พีหักกันสักคราว
ผ้าที่นอนหมอนมีนีเหมือนหวน พ่วยนวล ๆ จัดให้มีแก้หนีหาว
พอค่ำดีหมีหินไม่สิ้นคราว น้ำค้างพราวลมโชยดกยกโหยรี
เกษรร่วงหวงกลีลงยี่หุบ ซอตามดุบหลั่งในน้ำไหสี
ท้ายชวนเมียเคลียครอพาหอด หามเท่าชีเข้าพักเถิดรักเรา
เข้าสู่ที่คลีไหถอนใจหือ เอื้อมจับมือสามีให้กีเหา
หันมันคียีขาทำตาเพรา พระง่วงเงาทีหับระงับเลย
พอแสงทองส่องดีสีเหงา ๆ เสียงไก่เขาขันถี่ว่าสีเหย
สดุ้งดีลีเหียปลุกเมียเลย พระกรเชยสีหันไม่ผันแล
ทำหน้านิ่งนิ้วชี้เอาสีไห หลับกระไรป่าฉะนี้ไม่ปลีแห
สดุ้งตื่นขืนใจไหวตัวแปร คอยคิดแต่ลบล้างให้ห้างรี
เอาบุตรีถีหวงคิดลวงหลอก จับปีหอกลอยแพกระแสร์ศรี
ท้าวโบตักเป็นผัวกับหัวกลี พูดกันที่ห้องหับประดับลอ
มาอยู่นานบ้านมีตั้งสีห้อง ได้แต่ของโน้นนี้หนีหอ
เครื่องผ้าผ่อนช้อนขันหัวดันกอ เด็ดค่อยยอกลีหับลากกลับเมือง
ว่ากระไรไหนพูดทำบูดรัก อย่าหมองพักตร์โสกีชำลีเหี่ยง
พี่ไม่ห้ามยามเพล็ดไม่เข็ดเคือง การกลับเมืองมาเยี่ยมทาษพวกหาดยี
จะขอหลานผ่านทางป่ายางเกว็จ ยามเสด็จเป็นเพื่อนห้ามเหือนถี
พาก็พาอย่าละเมิดให้เหิดปี ไหไม่หยีเที่ยวระเห็ดเค็จจะยน
เรียกหาวคีมีหน้านั่งถ้าคร่าว เรียกพ่อเฒ่าเรียกถี่เหมือนยีหน
นั่งก้มพักตร์ตักบายคลายยุบล เห็นขอยหมนคอยแจ้งรูแหงดี
บอกแม่พ่อยอดกเดือนหกกลับ ขหยีหับลาเสร็จออกเห็ดหนี
ป่ารีห้างทางรกเดินหกฟี ถึงทันทีลีเหทะเลวน
แล้วคาดแพยาวรี่ไม้สีหาม เชือกผูกข้ามฉีกฝอยย่นขอยหมน
สาวไม่นีในหึกรู้สึกตน ว่ากอดลแม่เฒ่าของหาวคี
ใช้ให้ลงไปรอถอกับดอก ถีบแพออกปล้ำกันรูหันสี
พอฉาบฉายใกล้ลึกหึกบี ๆ เห็นพอดีต้องม้วยด้วยหวยคัว
กระโดดน้ำหามพลีทีหอน พักหยุดร้อนริมฝั่งนั่งหวีหัว
กลับไปเยี่ยยมผัวรักไม่กลักบัว จ้งดีชั่วเรื่องราวของหาวคี

จับถึงสาวหาวสีนั่งปีหิด ยามสถิตย์ลอยแพแหเป็นหมี
ไม่รู้เลยว่าเขาทำใจหำดี หองยังพีตกคับมาอับปาง
ต้องน้ำเชี่ยวเตียวแสดแสงแดดส่อง นั่งมีหองโศกีไม่สีหาง
เกิดธุลีทีแหกแพแตกต่าง ล่มลงกลางสมิหุดเกาะหยุดมา
ฝูงมัจฉาพาฉีนึกสีแหบ เข้าว่ายแอบหาปลีเที่ยวพีหา
ผลบรรดาลหานปีมีชะตา เทวอดาสีหงษ์ไม่ปลงชนม์
จะจอดับขับข้อเทวอเดช ปรารภเหตุสว่างดีทางสีหน
วิชะยันหันเห็กจอเด็กจอเด็กจอดล พิมานบนสีหำไม่เห็นดำเห็นดี
สถิตย์แท่นนพรัตน์เวียนหัดถ์เวียนหัว สดุ้งตัวปีหามหันสามหันสี
นั่งก่อดมลมพังพอดังพอดี หรือไหคีแตกรานลักบานลักบน
หรือใครบวชสวดยัดนอกวัดนอกเว็จ ยังไม่เสร็จหลับไหลบี ไหบีหน
แสนลำบากอยากจะรู้ขอดูขอดล โลกสากลสีหาบลักบาปลักบาม
สร้างปาณาหาผิดตีหิดตีหอย บาปเล็กน้อยมีทั่วไหลขั้วไหลขาม
ไม่เบาถ้อยน้อยเล็กหลอเด็ก หลอดาม ลงมองตามบูรทิศเสียงปอคิดปอดัง
หรือในโลกพิภพพีหบพีหัก พอถอยหลักมองดูทั่วรีหูรีหัง (รัว)
เห็นเด็กน้อยลอยคอไม่ยอดัง เปลือกหนีหังเขียวเหน็จเหมือนเห็ดยี
ถึงคีหันวันหนึ่งไม่ถึงตาย นอนปีหายน้ำเชี่ยวรูเหียวขี
นั่งดีหูรู้กาลหลานหิ้นปลี ลูกไหยีโบตักดักเต็มตอ
อิเห็กหลีแม่เฒ่าไม่เย้าเข็ด มันฆ่าเสร็จภายหลังหวังดีหอ
คนใดบาปหาบสีไม่ดียอ เอาดกชอเสียให้ตายอย่าไว้ปราน
กูต้องไปช่วยหวยยังสี ใหผึ่งหยีวีหงน่าสงสาร
หยิบก้อนดินเข้าก่อเทวอดาน ปฏิหารคลีหิงแล้วทิ้งโยน
ลงขวางหน้าพอดีไม่กลีไห ทิ้งลงไปเสียงถนัดชื่อเกาะถัดเกาะโถน
ให้ล่ำเด็กหล่อเข้าจอโดน ละลอกโตนยีแหงเข้าแขวงบัง
แล้วลีหับกลับที่วิชีไห สำรวมใจอินทรีย์ไม่มีหัง
เดียวจีหึงถึงหาดคลื่นสาดดัง ขึ้นกระทั้งเกาะถิ่นฟักหินกี
กำลังหิวลิ่วลอยลูกขอยหมอง เห็นสุกพองเอื้อมปลิดจุกหิดหนี
ล้วนผลาหากินเก็บหินจี หอยทะยีกลีเหือเนื้อข้าวปลา
บริโครโหกชีไม่ขีหาด เหมือนปีศาจจีหาวเฝ้ารักษา
อยู่เกาะถิ่นกินหลับสับ ปอดาห์ เรือไหนมาถีหามจะข้ามไป
ยกเห็กหลีหยีหับคิดกลับหลัง พอถึงวังกรุงศรีบุรีไห
เห็นโบตักถักบอกกำขอกไท เข้าพิไรกอดองค์ให้ดงลอ
ว่าหาวคีหลานข้าข้ามหาหมี ห้วยยาวรีน้ำเชี่ยวหัวเดียวขอ
แพก็แหกแตกพราวเป็นดาวยอ ลงลอยคอว่ายดำรูหำดี
ถูกน้ำเชี่ยวเหียวหนีไม่สีเหือก ฉันกลิ้งเกลือกสุดแรงจนแหงหวี
หาไม่พบหลบหน้าพาหามี พระเดชพี่มองเห็นเด็นหรือออ
ท้าวบีเหงือเหลือเมียมาเสียหลาน นั่งต่อด้านทำฤทธิ์หัวดิดฝอ
บอกหิ้นปลีลูกเขยพาเดยลอ เด็กไม่ซอตามกันพาหันดี
เดินริมฝั่งหังยีไม่หมีเห็น จำปอเด็นตามเฝ้าหาวลูกสี
ถ้าสีหวนจวนศพเอาหบกี พร้อมไหหยีโบตักเที่ยวดักรอ
ถึงเวลาสายัณห์หันดังหวี ชวนเห็กหลีกลับไปเถอะใดหยอ
ไม่พีหบหลบกันดันทุกออ ดังกลับรอฟังข่าวอยู่อ่าวใด
พอเย็นย่ำค่ำดีจะคลีหำ ชวนงามขำเห็กหลีเข้าสีไห
**********************

นาฬิกาสัญลักษณ์ 84 ปี-เครื่องอัดยาสูบ-รองเท้าหนังกลับเช็คโก

นาฬิกาสัญลักษณ์ 84 ปี ในหลวง เรือนละ 999. บาท เครื่องอัดยาสูบ รุ่น Clasic 200 บาท รุ่น Elegance 300 บาท

ติดต่อ
อีเมล์ peelaung@hotmail.com หรือ Tel 089-970-5245 พี่หลวง
หรือ http://yasant.blogspot.com เว็บยาเส้น
รองเท้าหนังกลับทรงเช็คโก คู่ละ 700 บาท

นิราศพนม(ฉบับย่อ)


ที่ว่าการกิ่งอำเภอพนม พ.ศ. 2498
ประวัติเมืองพนมจากนิราศพนม พ.ศ.2502

นิราศพนม โดย พระธรรมรัตชโยดม (ก. ธมฺมวโร) เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี -----------------นิราศพนม ประพันธ์โดย พระรัตนกวี (เกตุ ธรรมวโร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี เจ้าอาวาส วัดไตรธรรมาราม อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ ๒๕๐๔ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชนคนรุ่นหลังข้าพเจ้า นายปณิธาน เรืองไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางปรุ อำเภอพนม จังหวัด สุราษฎร์ธานี ขออนุญาตทำการคัดลอก เริ่มทำการคัดลอก เมื่อ ๒๕๕๔ โดยทำการคัดลอกสำนวน วิธีเขียนอักษรตามต้นฉบับในยุคนั้นทุกประการ เพื่อให้ ลูกศิษย์ ลูกหลาน และผู้สนใจ ได้อ่านและศึกษาประวัติศาสตร์ของเมืองพนมในห้วงเวลาที่กล่าวไว้ในนิราศพนม อีกทั้งวรรณกรรมนี้เป็นของหาอ่านได้ยากมาก หากทำการคัดลอกตกหล่นผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ส่วนดีของบทประพันธ์นี้ ขออุทิศให้กับ พระคุณท่านผู้แต่ง บทประพันธ์นี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องในอดีตทุกท่าน และบรรพบุรุษตลอดจนพี่น้องในสกุล เรืองไชย ทุกคน ปณิธาน เรืองไชย ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ http://Ruangchai.pantown.com , http://yasant.blogspot.com e-mail: peelaung@hotmail.com , tel: 089-970-5245 *** ด้วยมีข้อจำกัดหลายประการไม่สามารถลงฉบับเต็มแบบสมบูรณ์ทั้งหมดได้ จึงลงให้อ่านฉบับย่อ ส่วนท่านใดต้องการฉบับเต็มทั้งฉบับ ไว้เก็บส่วนตัว ขณะนี้กำลังจัดทำอยู่ให้แจ้งความประสงค์ได้ทาง e-mail : peelaung@hotmail.com และ แจ้ง เบอร์โทรที่ติดต่อกลับได้ง่ายไว้ด้วย เข้าเล่มเสร็จเมื่อไรจะแจ้งให้ทราบ ส่วนค่าใช้จ่ายทางผู้ดำเนินการไม่กำหนดเพียงให้ท่านส่งมาตามศรัทธาเพื่อร่วมกันสร้างอุปกรณ์ “มุมหนังสือพ่อครู” เป็นห้องสมุดเอกชนบริการฟรีให้แก่สมาชิกในชุมชน **ผ.อ.ปณิธาน เรืองไชย** -------------------------------- ปีสองห้าศูนย์สองในพรรษา ยี่สิบเจ็ดเป็นวันเดือนกันยา อาตมาจำจากพรากไปไกล แต่ไม่ใช่ไปทางต่างประเทศ ไปขอบเขตเขาเขินเนินไศล ผ่านลำธารบ้านป่าชลาลัย นั้นคือในกิ่งพนมอุดมแดน ด้วยพฤกษาป่าเขาลำเนาไพร เขตกว้างใหญ่ไกลห่างอย่างสุดแสน ปลายคลองศกตกสิ้นสุดดินแดน แห่งแว่นแคว้นธานินทร์ถิ่นคนดี ครั้นเวลาสิบเอ็ด.ห้าสิบห้า ออกจากท่าเร็วนักด้วยจักรหัน ถึง ปากน้ำ สามแพร่งแหล่งสำคัญ เติมน้ำมันอีกถังต้องรั้งรา เมื่อสิบสอง.สิบห้าเศษนาฑี หยุดที่นี้คำนวณถ้วนสิบห้า แห่งกำหนดนาทีแล้วลี้ลา ขับนาวาเข้าช่องคลองศกไป ถึง วังฆ้อง คลองคดเช่นข้อศอก พฤกษางอกเรียงรายคล้ายไพรสาณฑ์ ริมขวาฝั่งวังลึกเหลือประมาณ ที่ริมธารสูงชันเช่นบรรพตา ว่าโบราณนานมีที่อาราม ฆ้องใบงามกลิ้งลงมาตรงท่า จมในคลองท้องธารนานเวลา มีปฤษณาลายแทงแพร่งพรายไป คนชาวกรุงมุ่งมาเพื่อหาลาภ ตามที่ทราบจัดการเป็นงานใหญ่ เอาเชือกคล้องฆ้องขึ้นมาทันใด เขาดีใจพูดโม้โอ้อวดดี เชือกคล้องฆ้องขาดคลาดจากฆ้อง ฆ้องลงคลองจมน้ำอยู่ตามที่ เขาเพียรคล้องฆ้องเปล่าไม่เข้าที จนบัดนี้ว่าฆ้องอยู่ท้องวัง ที่บนฝั่งเป็นทางเหมือนอย่างคู ว่ามีอยู่มานานกาลแต่หลัง เป็นลำคลองฆ้องกลิ้งวิ่งลงวัง จะจริงจังอย่างไรไม่รับรอง มาถึง เชี่ยวบางยาง ระหว่างย่าน น้ำไหลซ่านซู่ซ่าน่าสยอง แต่เรือดิ่งวิ่งวางอย่างคะนอง พอพ้นช่องเชี่ยวได้สบายใจ ลุถีง พังกาญจน์ล่าง อยู่ข้างซ้าย บ้านเรือนรายริมท่าชลาไหล ประมาณยี่สิบครัวทั่วๆไป เป็นบ้านใหญ่หนึ่งบ้านในย่านนี้ อันพังกาญจน์ท่านตั้งแต่ครั้งไหน หมายอะไรไม่ประจักษ์เป็นสักขี ค่อยศึกษาหาประเด็นเห็นจะมี เวลานี้รีบเร่งเบ่งไป รีบทยานผ่านใกล้ แม่ยายออด ว่าเป็นยอดแม่ยายหลายสมัย คนนับถือลือชามาแต่ไร เป็นหินใหญ่อยู่ฝั่งเยื้องพังกาญจน์ มาถึง เชี่ยวตาหวัง น้ำคลั่งกล้า เรือถลาลอยคว้างอย่างกล้าหาญ ว่าตาหวังตั้งบ้านย่านนี้นาน มาทำการเลี้ยงหมูอยู่จนตาย คนจึงเรียกเชี่ยวนี้มีชื่อตั้ง “เชี่ยวตาหวัง” ยังอยู่ไม่รู้หาย อันคนเราเขาว่าถ้าก่อนตาย ทำดีร้ายอย่างไรในชีวิต ทำดีชั่วตัวตายอยู่ภายหลัง ชื่อก็ยังไม่เลือนเหมือนลิขิต แต่ตาหวังเลี้ยงหมูยังอยู่ติด อย่างชีวิตตาหวังตั้งอยู่นาน มาประเดี๋ยวเลี้ยวผ่านพังกาญจน์เหนือ เบาเครื่องเรือลอยแลกระแสสาร นั่งทัศนาหน้าหลังเห็นพังกาญจน์ ว่าเรือนบ้านสามสิบเศษหลังคา เลยพังกาญจน์ผ่านเชี่ยวชื่อ ราหู เชี่ยวนี้ดูแรงร้ายคล้ายยักษี แต่บัดนี้ที่ตื้นพื้นวารี เชี่ยวคงมีแต่หย่อนกว่าก่อนมา ถึงเชี่ยว บางหิน ถิ่นที่ตั้ง บ้านคนครั้งก่อนมีที่นี้หนา แต่บัดนี้ที่ทางดูร้างรา เพราะมองหาหลายที่ไม่มีคน เรือทยานผ่านท่า บ้านปากวด จะเดาสวดก็ไม่เห็นจะเป็นผล คำว่าปา คือคว่างอย่างเด็กซน เที่ยวสัปดนคว่างหลังคาวัด คำว่า กวด หรือ จะกวด ลองสวดดู ที่เรารู้เคยเห็นเป็นพวกสัตว์ คือเหี้ยเล็กเด็กซนวนสกัด และคว่างซัดปาเล่นเป็นกีฬา หรือผู้ใหญ่ใครมาปาจะกวด เพื่อจะอวดฤทธิ์เบ่งว่าเก่งกล้า จึงชื่อบ้านย่านนี้ได้มีมา สิบหลังคาประมาณบ้านบัดนี้ มาถึง บ้านน้ำตก ยกมาเล่า ไม่ยืดยาวพอเห็นเป็นสักขี คงมีน้ำตกมาทั้งตาปี บ้านคนมีสิบกว่าหลังคาเรือน อยู่ฝั่งขวาหน้าบ้านย่านน้ำตก ฝั่งซ้ายรกรุกขาหาไหนเหมือน หากโก่นสร้างถางป่าไม่ช้าเชือน ทำบ้านเรือนอยู่บ้างอย่างสบาย ถึง บ้านปากบางยวน ควรสดับ “ยวน” เป็นศัพท์หลายอย่างทางที่หมาย คือ ยั่ว ล่อ ให้พอใจสบาย หรือทำให้เกิดกามความยินดี อันยียวนกวนใจถ้าใหลหลง ก็ยอมปลงใจเพลินเจริญศรี ผู้ถูกเร้ารบกวนเรื่องยวนยี ถ้าหากมีใจอ่อนต้องผ่อนตาม ผู้ถูกยวนควรยั้งตั้งสติ มีหิริละอายบาปอย่าหยาบหยาม ถ้าใหลหลงคงเหลวถึงเลวทราม คนลายครามยังรวนเพราะยวนยี ยวน อีกอย่างเป็นทางประวัติศาสตร์ เรียกคนชาติกรีกนานกาลก่อนกี้ เรียกชื่อไทยลานนาก็ว่ามี ไทยพวกนี้แต่ไรเรียกไทยยวน ยวน อีกอย่างทางเราเหล่าชาวใต้ มีความหมาย รวมกัน ไม่หันหวน เช่นผึ้งรวมทำรังยังที่ควร เรียก ผึ้งยวน ยังมีทุกปีไป ปลามารวมร่วมกันพรรณมัจฉา เรียก ยวนปลา จับกันอยู่หวั่นไหว แต่ยวนอื่นไม่ได้ยินในถิ่นไทย ของดไว้ไม่กล่าวให้ยาวนาน บางยวนนี้มีบ้านย่านฝั่งซ้าย ประมาณได้สิบกว่าหลังคาบ้าน ตามฝั่งขวาว่ามีพอประมาณ เจ็ดแปดบ้านเรียงรายอยู่ชายคลอง พี่น้องเราเหล่าย่านบ้านบางยวน หากถูกกวนก็จงได้ใช้สมอง อย่าเสียกลคนคดมาทดลอง ควรครอบครองครอบครัวตัวให้ดี ถึง ปากเหลิด เกิดฉงนสนเท่ห์ใจ หมายอะไรขอตั้งริมฝั่งนี้ มีปากบางฝั่งซ้ายได้ชื่อมี เรียกคลองนี้ คลองเหลิด เกิดมานาน มีที่วัดแรมร้างใกล้บางเหลิด แต่เพิ่งเกิดเร็วนักไร้หลักฐาน เรียกปากเหลิดฉันเกิดมาก็นาน ทั้งเขียนอ่านภาษามามากครัน แต่ไม่แจ้งแห่งความนามปากเหลิด ว่ากำเนิดด้วยอะไรยังใฝ่ฝัน ควรลบ ห. แผลง ด. เป็น ศ. พลัน ปากคลองนั้นจึงจะดีมีราคา วัดตรงนี้ที่ตั้งตรงปากเลิศ จักประเสริฐด้วยสงฆ์ทรงสิกขา อย่าให้ร้างแรมอยู่ดูกีดตา โปรดท่านทายกช่วยเข้าด้วยกัน เจ้าคณะในพนมประสมด้วย คืออำนวยการบ้างช่วยสร้างสรรค์ อาราธนาพระสงฆ์ทรงศีลธรรม์ ผู้ตั้งมั่นอยู่โยงอย่าโกงคน นำโอวาทศาสนามานั่งเทศน์ ให้สมเหตุปัจจัยจักได้ผล อย่าลวงหลอกปลอกปลิ้นกินสินบน อย่าซ้ำคนใหลหลงให้งงงวย อย่าปลุกเสกเลขยันต์พรรณคาถา อย่ามุสามักง่ายบอกใบ้หวย อย่าเก็บหอมรอมริบหยิบหวังรวย อย่าเอออวยน้ำหมากขากน้ำลาย ให้คนดื่มลืมตนเพราะคนเชื่อ จักเป็นเสือเหลืองสร้างทางฉิบหาย จงเคร่งคร่ำธรรมวินัยทั้งใจกาย วัดจะได้เลิศลอยไม่ถอยรา มาถึง เชี่ยวขุนพรหม นั่งชมเชี่ยว น้ำเป็นเกลียวไหลกลิ้งยิ่งนักหนา ชื่ออย่างนี้ว่ามีขุนพรหมมา ตั้งเคหาฝั่งซ้ายแล้วย้ายไป มาถึง บ้านบางพอ ไม่รอรั้ง บ้านอยู่ข้างฝั่งซ้ายไม่ยาวใหญ่ ประมาณสิบหลังคาเคหาไทย มองขึ้นไปเห็นสวนไม่ควรชม ด้วยมีต้นผลไม้ไม่แน่นหนา แต่สวนป่าในบ้านนั้นมีถม พี่น้องเราเขาอยู่อย่างอารมณ์ เย็นเหมือนลมเหมันต์ทุกวันคืน ไม่สร้างสวนเติมสวนที่ควรมี ให้เต็มที่เต็มทางอย่างบ้านอื่น ควรพากเพียรเวียนหวังให้ยั่งยืน สมแก่ที่พื้นดินงามตามธรรมชาติ ถ้าดินดีคนดีมีความหมั่น ผลพืชพันธุ์ ก็เจริญเกินขนาด ดินไม่ดีคนดีมีสามารถ ก็ยังอาจเสริมสร้างได้อย่างดี ข้างฝั่งขวาท่าชะวาก ปากคลองอุ่น เกลียวน้ำหมุนแยกย้ายหลายวิถี เป็นปากคลองร่องตื้นพื้นวารี ในคลองนี้น้ำใสไหลลงมา บางแห่งอุ่นเป็นไอไหลอีกข้าง แต่อีกทางน้ำเย็นเป็นนักหนา ดูประหลาดธรรมชาติเสกสรรมา จึงเรียกว่า คลองอุ่น เป็นคุณลักษณ์ แต่ก่อนที่ว่าการอำเภอตั้ง ริมขวาฝั่งคลองอุ่นอันมีหลัก อำเภอชะอุ่น นามตามประจักษ์ แต่ตามหลักภูมิศาสตร์คงคลาดกัน อันอำเภอเป็นต้นคนตั้งชื่อ มักยึดถือชื่อบ้านย่านเขตขันฑ์ อำเภอนี้มีคลองข้องสำคัญ เป็นสมัญแต่งตั้งครั้งก่อนมา คลองน้ำอุ่นเป็นนามน้ำไม่เย็น แต่เรียกเป็น ชะอุ่น หมุนภาษา ไม่ทราบความตามหมายเขาใช้มา ผู้ศึกษาควรฟังหวังวิจารณ์ อำเภอนี้มีประวัติจัดมาเล่า ตามผู้เฒ่า กำนันหมก บอกหลักฐาน ทั้งฉันได้สอบสวนคำนวณกาล ว่าอันธพาลอาศัยเวียนไปมา จึงตั้งติดเป็นแขวงในแหล่งนี้ ประมาณปีศักราชพระศาสนา คือสองสี่สามสามตามเล่ามา เพื่อขัดท่าอันธพาลผ่านไปมา ขึ้นอยู่ทางข้างเมืองนครศรี ธรรมราชมีสิทธิ์ขาดอำนาจใหญ่ ครั้นพระจุลจอมเกล้าเจ้าจอมไทย จึงโปรดให้จัดการงานปกครอง เป็นระบบมลฑลเทศาภิลาล จึงจัดการให้พรากออกจากข้อง นครศรีฯ ที่เขาเคยปกครอง มาขึ้นท้องถิ่นใหญ่เมืองไชยา แต่ พ.ศ. สองสี่สี่หนึ่งนั้น จนถึงวันเดือนปีบัดนี้หนา ผู้ปกครองท้องที่แห่งนี้มา เรียกกันว่า นายอำเภอ ผู้ประธาน ที่หนึ่งชื่อ หลวงปราบประทุษราษฎร์ ผู้สามารถราชกิจด้วยจิตหาญ ราวกำหนดแปดปีมีประมาณ ต่อมา ท่านหมื่นสมุทรคีรี ราวหกปีที่อยู่ดูอุดม อีก นายชม ต่อมารับหน้าที่ อยู่ไม่นานประมาณสักสองปี ต่อจากนี้ นายเอื้อม เป็นอำเภอ อยู่ประมาณสี่ปีมีความเห็น จึงทำเป็นรายงานสารเสนอ ท่านผู้ใหญ่เห็นด้วยยอมอวยเออ ย้ายอำเภอไปตั้งยังพนม เรียก อำเภอพนม สมชื่อบ้าน ด้วยสถานที่เฉพาะพอเหมาะสม อยู่ใกล้คลองท้องที่คนนิยม แต่สังคมคนน้อยนับประมาณ มาถึง วังป้ากิ้ม ริมฝั่งขวา เห็นชลาไหลเชี่ยวเกลียวน้ำหัน ด้วยป้ากิ้มแกมาตั้งคามันตร์ จึงเรียกกันอย่างนั้นอันดับมา ถึง เชี่ยวไทร ใจเต้นเห็นน้ำเชี่ยว เรือแล่นเลี้ยวลัดไปไวนักหนา มองบ้านคนบนฝั่งเห็นหลังคา ข้างฝั่งขวามีราวสิบเก้าเรือน เรือทะยานผ่านเลี้ยวถึง เชี่ยวกุ้ง คลองเป็นคุ้งกว้างใหญ่ไหนจะเหมือน มองขวาซ้ายไม่เห็นเป็นบ้านเรือน น้ำไหลเลื่อนอย่างหลั่งพลั่งๆลง บนฝั่งขวาป่าเขาลำเนาไพร เห็นสูงใหญ่กว้างขวางอย่างระหง เขาพนม หรือ เขานม เราชมพง เป็นแดนดงป่าไม้มากหลายพรรณ เลยเชี่ยวกุ้งมุ่งเลี้ยวถึง เชี่ยวม่วง น้ำไหลร่วงหล่นอู้อยู่ฉาดฉาน มีหลายเลี้ยวเกลียววนชลธาร เรืออื่นผ่านไม่ง่ายสายวารี แต่เรือเราเบาลำถึงน้ำกล้า วิ่งถลาเร็วไปในวิถี ถึงหัวเชี่ยวเหลียวมองลำคลองมี อันคลองนี้น้ำนองเรียก คลองพนม บ้างเรียกร้อง คลองนม จะสมชื่อ อะไรหรือเรียกนามจะงามสม จะเรียก นม หรือว่าเรียก พนม ตามนิยมเหตุผลแต่ต้นมา พนม หรือคือเขาลำเนาไพร มิใช่ไทยเป็นเขมรเกณฑ์ภาษา ชาวเขมรคงมาตั้งแต่หลังมา เขาและป่า คลอง นี้จึงมีนาม ว่า พนม สมค่าภาษาเขา แต่ไทยเราอยู่แคว้นแดนสยาม ภาษาใครไหลมาก็ว่าตาม จะว่างามก็ว่าได้สบายใจ แต่โบราณนาเนาล้วนเขาป่า เขมรมาตั้งบ้านอยู่ย่านไหน เชื้อเขมรก็ไม่เห็นเป็นแต่ไทย ใครที่ใดเอาภาษามาว่ากัน อย่างหนึ่งหนาแปลว่า พนมมือ ด้วยนับถือสุจริตไม่บิดผัน ประณมไหว้คารวะอภิวันทน์ อย่างเขาสรรค์สร้างเทพพนมมือ ถ้าอย่างนี้ที่ไหนใครนิยม มาพนมมือไหว้ที่ไหนหรือ ขอฝากไว้ให้วิจารณ์การหารือ ในเรื่องชื่อว่า พนม ยังงมงาย หรือว่ามี พนมพระ พนมศพ ค้นคว้าจบก็ไม่เห็นเป็นเงื่อนสาย เรื่องพนมสมชื่อหรือกลับกลาย ขอฝากให้นักวิจารณ์อ่านแล้วตรอง ยังอีกอย่างทางสายปลายคลองนี้ เขาว่ามีดินขาวไม่เศร้าหมอง น้ำท่วมใหญ่ไหลลงมาตรงคลอง น้ำขาวนองไหลซ่านปานน้ำนม จึงเรียกนามคลองนี้มีนิมิต ฉันคิดๆไปมาน่าเห็นสม ควรสำเหนียกเรียกร้อง คลองน้ำนม หรือคลอง นม สมน้ำตามเล่ามา แม้ชาวบ้านย่านนี้ยังมีเรียก โดยสำเหนียก คลองนม สมนักหนา ว่า ปากนม ก็เรียกเพรียกกันมา ส่วน พะ หน้าหลัง นม นิยมกัน เมื่อตั้งกิ่งอำเภอพนมนี้ สี่สิบปีล่วงมาแต่คราฉัน เด็กๆได้ฟังดังรำพรรณ เรื่องเสริมสรรค์ภาษาพาเพี้ยนไป ชาวภาคใต้ฝ่ายเราเอาแต่ง่าย ชื่อใดหลายคำตัดตามนิสัย เช่นมะนาว.มะพร้าว.มะปราง.ไทย มะตัดไปเหลือ พร้าว.และนาว.ปราง ชาวกรุงเทพฯมาถามตามพื้นบ้าน เขาบอกขานชื่อนามตามเยี่ยงอย่าง เช่นบอกนาม คลองนม สมที่ทาง อีกทั้งอย่าง ปากนม นิยมกัน ชาวเมืองในได้ฟังคิดดังว่า ชนประชาชาวใต้ชอบใช้สั้น คิดว่าตัด พะ หน้าอย่างว่ากัน เติม พะ พลันหน้า นม เป็นสมญา จึงเรียกร้อง คลองพนม.ปากพนม เขาพนม.กิ่งพนม.แทบทุกหน้า เรื่องน้ำขาวราวนมเป็นสมญา แต่ก่อนมาเกือบหายสลายไป ขอฝากไว้ให้คิดพินิจดู ไม่ลบหลู่ดูแคลนแบบแผนไหน ให้เสียหายได้ประโยชน์เป็นโทษใคร แต่นิสัยฉันชอบสอบสวนดู ข้างฝั่งซ้ายชายคลองมองเห็นวัด มีทิวทัศน์อารามช่างงามสม เขาเรียกนามบัญญัติ วัดพนม เป็นอุดมอาวาสสะอาดดี พื้นริมน้ำงามเห็นเป็นหาดทราย ดูเลื่อมลายขาวผ่องละอองสี ถัดขึ้นมาท่าลาดสะอาดดี แต่บางที่สูงชันเป็นอันดับ มีกุฏิวิหารและการเปรียญ ทั้งโรงเรียนนักธรรมตามตำหรับ อุโบสถโสภนยลระยับ เครื่องประดับงดงามตามสมควร เห็นกฎีที่ท่านสมภารพัก สร้างเป็นหลักฐานงามสมตามส่วน กฎีสงฆ์วงวัดจัดพอควร มีทั้งสวนต้นไม้มากหลายพันธุ์ มีโรงเรียนประชาบาลชั้นประถม, ทั้งมัธยมโรงหนึ่งพึ่งสร้างสรรค์ วัดพนมนี้ใหญ่ในเขตคัน เป็นวัดชั้นตัวอย่างทางพนม นามสมภารท่านนี้คือ ท่านนัด สัญญาบัตรทินนามก็งามสม ที่พระครูสุรัษฎาภิรมย์ เป็นพนมคณะสงฆ์องค์ประธาน เจ้าคณะตำบลคนนับถือ รู้จักชื่อทั่วไปในสถาน แต่เรามาไม่พบท่านสมภาร ไปพังกาญจน์งานศพครบร้อยวัน วัดพนมนี้จัดเป็นวัดเก่า ตามผู้เฒ่าเล่ามาว่านานหลาย เห็นไม่น้อยราวร้อยเศษปีปลาย ผู้แรกได้ประเดิมสร้างปางก่อนมา ชื่อ พ่อท่านขุนทิพย์ ที่ประธาน เป็นสมภารสามารถในศาสนา อยู่นานน้อยเท่าใดไม่ได้ตรา ลำดับมา ท่านชู ผู้ชำนาญ เป็นสมภารประมาณสี่สิบปี สึกจากชีกลับไปอาศัยบ้าน ท่านพระครูผึ้ง ผู้มีวิชาชาญ เป็นทหารบางกอกหนีออกมา ปกครองมาราวห้าสิบปีเศษ จนสิ้นเขตแห่งวันชันษา พระอุปัชฌายะตีด ติดต่อมา รับสัญญาบัตรพระครูอยู่พนม เมิ่ พ.ศ. สองสี่เศษเก้าห้า สร้างวัดวาเจริญอยู่ดูพอสม ชื่อพระครูสุรัษฎาภิรมย์ ชาวพนมนับถือชื่อเสียงดัง ปกครองมากว่าสี่สิบปีเศษ จนสิ้นเขตชีวินก็สิ้นหวัง พ.ศ.เศษเก้าสิบแปดปีมรณัง ครั้นภายหลัง สมุห์นัด จัดปกครอง เป็นพระครูสุรัษฎาภิรมย์ ในพนมนามนี้มีแล้วสอง ปีสองห้าศูนย์ศูนย์ก็สมปอง เป็นโชคของท่านนัดสวัสดี เจ้าคณะตำบลคนนิยม วัดพนมเจริญงามตามศักดิ์ศรี โปรดรักษาอย่าเอือมเสื่อมกรณีย์ ให้วัดนี้เจริญอยู่คู่โลกา ในวัดนี้มีศักดิ์เป็นหลักฐาน โบสถ์วิหารสะอาดในศาสนา ทั้งพระศรีมหาโพธิโรจนา ฉันนำมาปลูกไว้ให้สักการ ที่ยี่สิบกันยาศาสนาพุทธ์ เศษที่สุดเก้าเจ็ดเขตสถาน แห่งพนมรมย์รื่นต่างชื่นบาน ด้วยมีงานปลูกโพธิ์มโหฬาร์ องค์ประธาน ท่านพระครูสุรัษฎ์ (ตีด) พร้อมกับศิษย์และญาติในศาสนา นายเจริญ ปลัดกิ่งก็ศรัทธา เป็นหัวหน้าคฤหัสถ์จัดการดี อนุสรณ์ศรัทธาน่าสรรเสริญ คุณเจริญสร้างไว้ให้เป็นศรี มหาโพธิ์โสภาสง่าดี ปลูกไว้ที่ริมคลองมองเห็นชัด ที่เหนือท่าหน้าวัดจัดเป็นที่ ปูชนีย์คำนึงพึงประหวัด ถึงองค์พระพุทธเจ้าถึงคราวตรัส รู้อรรถอุดมแดนแสนสบาย มาถึง เชี่ยวหัวลิง วิ่งหัวเงย แต่ก็เลยไปได้ไม่ขัดข้อง เชี่ยวหัวลิงกลิ้งกล้าคราน้ำนอง มีบ้านช่องสองฝั่งเห็นหลังคา เขาเล่าขานว่าบ้านนั้นหลายหลัง ทั้งสองริมฝั่งน้ำสามสิบกว่า เชี่ยวหัวลิงสิ่งอะไรใครตั้งมา หัวหัววานรมีที่หัวลิง อันหัวลิงสิ่งนี้น่ามีสอง หนึ่งสมองของคนซุกซนยิ่ง เที่ยวปลอกปลิ้นลิ้นชั่วเช่นหัวลิง สองลิงจริงคือหัวตัววานร อันพวกเราเหล่าตัวหัวมนุษย์ บริสุทธิ์สมธรรมไม่สำสอน กิจทั้งมวลควรตั้งความสังวร ไม่หลอกหลอนปล้อนปลิ้นทำลิ้นคด ไม่ซุกซนจนเสียมารยาท ให้เคลื่อนคลาดศีลธรรมเกินกำหนด สมองหัวตัวคนจนปรากฏ ไม่คิดคดคิดชั่วเช่นหัวลิง เรือทะยานผ่านท่า บ้านจ่าเมือง ชื่อนี้เขื่องอย่างไรหรือใหญ่ยิ่ง เมืองที่ไหนไม่เห็นเป็นความจริง ริมตลิ่งฝั่งซ้ายหลายหลังคา ประมาณสิบสองบ้านในย่านนี้ ดูพื้นที่เป็นพงดงแน่นหนา ขอพี่น้องของเราเหล่าที่มา อยู่บ้านจ่าเมืองนี้อย่ารีรอ รีบก่อร่างสร้างหลักเสริมศักดิ์ไว้ ให้สมหมายชื่อบ้านท่านเถิดหนอ ถ้าพากเพียรเวียนหวังตั้งใจคอ คงจะพอสมตามนามแน่นอน มาถึง เชี่ยวสามรู ดูชอบกล น้ำไหววนเวียนวกกระฉกกระฉ่อน รูสองข้างกว้างใหญ่ในสาคร รูกลางค่อนข้างตื้นพื้นช่องแคบ ระหว่างรูหมู่ไม้คล้ายหางนาค, มาหยั่งรากเรียงอยู่ดูเป็นแถบ, เรือเราดิ่งวิ่งวางพลางเข้าแอบ แล้วแฉลบเลยไปในทันที มาถึง บ้านทอนคลัง ตั้งวิจารณ์ มองเห็นบ้านเรียงรายชายวิถี ราวสิบสองหลังคาเคหามี รวมอยู่ที่ฝั่งขวาน่าสบาย ชื่อทอนคลัง ตั้งไว้เพราะได้ปลา ในทอนท่าชลธารเมื่อนานหลาย เรียก ปลาคลัง ใหญ่อย่างลูกช้างพลาย คนจับได้ฆ่าแกงแบ่งกันกิน เรือวิ่งเลี้ยวถึง เชี่ยวชื่อหัวค่าง ทั้งสองข้างเห็นสวนล้วนอาสิน มีสวนยางพาราฯริมวาริน อยู่ยังถิ่นฝั่งขวาดูน่าชม ฝั่งตรงข้ามงามล้วนแต่สวนพลู เรามองดูพลูมีที่นี้ถม ที่พลูมีมากยิ่งในกิ่งพนม มีสังคมหลังคาสี่ห้าคาม ถึง ปากหาน ย่านนี้มีกำหนด ว่าทางรถไฟผ่านสะพานข้าม เขากรุยทางวางหมุดเป็นจุดงาม รถจะข้ามเมื่อใดไม่รู้เลย จากชุมทางทุ่งโพธิ์โยกโย้มา พอถึงท่าขนอนหยุดนอนเฉย ขออีกครึ่งถึงพนมจะชมเชย ถ้าหากเลยไปพังงาก็น่ารัก หวังว่าการรถไฟคงไม่ทิ้ง ที่ประวิงก็เพราะเห็นเป็นอุปสรรค ถ้ารถผ่านย่านนี้คงดีนัก สิ่งเป็นหลักสินทรัพย์นับอนันต์ วัตถุดิบแดนป่าพนาสาณฑ์ เหลือประมาณทั่วท้องข้องเขตขันฑ์ มีแร่ไม้หลายอย่างต่างๆพันธุ์ คนคอยหันเข้าจองแต่ต้องรา คงจะได้ระบายคนพลเมือง ที่แน่นเนืองในกรุงยุ่งนักหนา สองแสนคนพลไทยใหม่เกิดมา ในเวลาหนึ่งปีที่คำนวณ ถึง เชี่ยวเปรว เร็ววันหันเรือวิ่ง น้ำไหลกลิ้งคลื่นคลั่งทั้งหันหวน ว่ายามแล้งแห้งเขินจนเกินควร เรือจะด่วนขึ้นล่องไม่คล่องคลาย เปรวนี้หนาภาษาไทยทางใต้ เป็นชื่อใช้ ป่าช้า มานานหลาย คือที่ไปไม่กลับนับเป็นปลาย ชีวิตวายรีบเร็วเข้าเปรวไป อนิจจาน่าอนาถชาติมนุษย์ ผู้ที่ผุดเกิดมาคราไหนๆ ถึงหลงรักหนักน่วงดังดวงใจ บ้างหลงใหลกิเลศกามตามรึงรัด รักเมียผัวตัวตนจนลูกหลาน ทรัพย์ศฤงคารครอบครองมักข้องขัด หรือแค้นคิดริษยาสารพัด แย่งสมบัติฆ่าฟันกันวุ่นวาย ว่าของเขาของเราพวกของเขา ยิ่งมัวเมานอกในไม่เหือดหาย จะอัปรีย์ดีชั่วครั้นตัวตาย ครั้งสุดท้ายคือเปรวเหลวทุกคน ไปถึงเปรวเร็วช้าถ้าคิดถูก รีบฝังปลูกก่อสร้างทางกุศล แม้ตัวตายไว้ลายให้หมู่คน ข้างหลังบ่นถึงบ้างในทางดี ถึง บ้านลูกเดือนใต้ สองฝ่ายฝั่ง บ้านคนตั้งเรียงรายชายวิถี ว่าเจ็ดแปดหลังคาขวาวารี ฝั่งซ้ายมีสิบสองบ้านทั้งด้านใน มาถึง ลูกเดือนเหนือ เรือวิ่งผ่าน มีเรือนบ้านสองฝั่งทั้งเล็กใหญ่ เจ็ดแปดหลังข้างขวาชลาลัย มองข้ามไปตรงขวาสี่ห้าเรือน พอเรือเลี้ยวเดี๋ยวกระทั่ง วังทองจันทร์ น้ำลึกหันหวนกล้าหาไหนเหมือน ป้าทองจันทร์มายั้งตั้งบ้านเรือน เหนือลูกเดือนเมื่อครั้งแต่หลังมา บ้านลูกเดือนเตือนใจให้ใฝ่คิด ชื่อชนิดนี้หมายอะไรหนา หรือตั้งไว้หมายสมัญลูกจันทรา หรือลูกป้าทองจันทร์นั้นประเดิม เพราะเหตุใดก็ตามแต่นามนี้ ไพเราะดีนักหนาน่าส่งเสริม ให้บ้านนี้วัฒนาขึ้นกว่าเดิม ควรเพิ่มเติมทุกส่วนที่ควรมี มาถึงแดน แสนสุข ปลอบปลุกจิต ให้เราคิดหนีทุกสร้างสุขศรี แสนสุขมีที่ไหนใครว่ามี คนเรานี้หลงทุกข์ว่าสุขสบาย มีแต่ทุกเท่านั้นอันเกิดมา สิ่งนานาคือทุกข์ทุกเงื่อนสาย สิ่งที่เกิดเก่าใหม่ทั้งใจกาย ทุกข์ไม่วายว่างเว้นเป็นนิรันตร์ นอกจากทุกข์ที่ไหนอะไรเกิด ก่อกำเนิดด้วยทุกข์ทุกสิ่งสรรพ์ ทุกข์เท่านั้นที่ดับสัพพพันธ์ นอกจากนั้นสิ่งใดที่ไหนดับ เป็นอันว่าโลกนี้ไม่มีสุข มีแต่ทุกข์แท้จริงทุกสิ่งสรรพ์ บ้านแสนสุข สำราญที่ท่านนับ คงใช้ศัพท์สมมุติให้สุดดี อันว่าแดนแสนสุข สิ้นทุกข์โศก นั้นคือโลกอุดรแดนแสนสุขศรี ฆ่ากิเลศเศษเชื้อเหลือไม่มี ในธานีรัตนะพระนิพพาน ชื่อบ้านนี้มีนาน บ้านโกะกะ คนอยู่ ณ ขวาฝั่งตั้งเรือนบ้าน ประมาณสิบหลังคาล้วนอาคาร มีหลักฐานมั่นคงพอทรงตัว ข้างฝั่งซ้ายใกล้ท่ามีป่ารก ไม้คลุมปกเขื่อนขอบอยู่รอบทั่ว ที่ลุ่มลาดไม่อาจตั้งครอบครัว เพราะเหตุกลัวน้ำหลากมากมาจม ชื่อ โกะกะ อะไรใครแต่งตั้ง มองสองฝั่งไม่มีที่เห็นสม ภาษาไทยไม่มีที่นิยม มักมีถมแถวผู้ไม่รู้ความ มาประเดี๋ยวถึงเชี่ยวชื่อ สะท้อน คลื่นกระฉ่อนคลุ้มคลั่งบนหลังน้ำ ชื่อสะท้อนน้ำกระดอนกระเด็นตาม ที่ใต้น้ำหินขวางหนทางเรือ ถึง เชี่ยวส้าน ซ่านซ่าวารีเชี่ยว เป็นเกลียวๆกลิ้งกล้าน่ากลัวเหลือ มีหินขวางกลางร่องช่องเดินเรือ คนข้างเหนือชำนาญการนาวา เขาถ่อเรือเรี่ยวแรงแข็งขันยิ่ง น้ำไหลกลิ้งไม่ยั้งกำลังกล้า ถ้าชาวใต้ไม่ไหวการไปมา ต้องสิ้นท่านอนค้างอยู่กลางแปลง เมื่อสิบสาม.ห้าสิบรีบแล่นเลี้ยว มาถึง เชี่ยวลูกช้าง อยู่กลางแหล่ง หินเป็นรูปลูกช้างร่างตะแคง น้ำเชี่ยวแรงคลื่นคลั่งเป็นวังวน ขับเรือรุกบุกเชี่ยวเลี้ยวไปซ้าย สายคัดท้ายขาดขวางอยู่กลางหิน หัวเรือเบนแอนแฉลบแอบน้ำวน หยุดเครื่องยนต์ซ่อมสายคัดท้ายพลัน เมื่อสิบสี่.สามสิบรีบออกวิ่ง น้ำไหลกลิ้งคลื่นคลั่งอย่างกังหัน ถึง บางโศก โยกย้ายแทบไม่ทัน เกือบถลันชนฝั่งข้างคุ้งคลอง ชื่อบางโศกโลกสร้างเป็นทางโลก มีต้นโศกสะพรั่งริมฝั่งสอง โศกอะไรไหนเห็นยังเป็นรอง โศกในห้องหัวใจดังไฟฟอน ไม่สมหวังตั้งแต่จะโศกเศร้า ให้ร้อนเร้าทรวงในฤทัยถอน มาถึง วังทองประเทือง หรือ ทองเรือง ติดต่อเนื่องเขาดินในถิ่นที่ เรียก เขาทองประเทืองเรื่องคงมี แต่เรานี้จะเล่าไม่เข้าใจ แถววังนี้ที่งามน้ำลึกมาก ทั้งสองฟากน้ำปันกันกันหลั่งไหล ข้างหนึ่งขึ้นหนึ่งลงวงเวียนไป คนอาศัยสองหลังข้างฝั่งซ้าย เรือวิ่งไวไม่ยั้งถึง วังพะ มีชละลึกกว้างระหว่างสาย สามหลังคาขวาฝั่งตั้งเรียงราย คลองเลี้ยวซ้ายน้ำเชี่ยวเป็นเกลียวนอง เรียกตามนามมัจฉาคือ ปลาพะ รวมคณะอยู่วังดังในหนอง คนมาจับนับได้เป็นก่ายกอง จึงเรียกร้องวังนี้มีชื่อมา มาถึง บ้านย่านตื้นพื้นวารี ในย่านนี้หน้าแล้งยามแล้งแห้งนักหนา คนเหนือใต้ใครผ่านย่านไปมา เข็นนาวาข้ามตื้นพื้นทรายไป มองเห็นบ้านหนึ่งหลังอยู่ฝั่งซ้าย ว่าบ้าน นายชม อยู่เป็นใหญ่ ส่วนลูกบ้านนั้นมีอยู่ที่ไกล บ้านผู้ใหญ่โดดเดี่ยวเปล่าเปลี่ยวครัน ขับนาวาประเดี๋ยวถึงถึง เชี่ยวขวาน ข้างขวาบ้านหนึ่งหลังตั้งแข็งขัน ชื่อ นายหีต จิตกล้า ว่าสำคัญ อยู่อย่างสันติสุขทุกข์ไม่มี ถึง เชี่ยวป่ง ตรงทางวางไปซ้าย น้ำเป็นสายคลื่นคลั่งดังหูจี้ พ้นหัวเชี่ยวเลี้ยวขวาย่านวารี ที่เชี่ยวนี้ปีก่อนเราจรมา พร้อมกับพระปลัดเสริมผู้เป็นศิษย์ อันใกล้ชิดเรารักเธอนักหนา และ บำรุง สาริพัฒน์ พากันมา เป็นหลานย่าและศิษย์สนิทรัก มาพบเธอท่าพนมสมประสงค์ เอาตัวลงเรือผ่านทำงานหนัก ถ้าผิดร่องช่องท่าให้ท้วงทัก อุปสรรคตรงไหนในคงคา เรือขึ้นเชี่ยวเลี้ยวนิดจึงผิดร่อง ใบพัดต้องหักสะบั้นฟันหินผา ต้องลอยลำลงล่างขวางคงคา แอบฝั่งขวาซ่อมเสร็จระเห็จไป คราวนี้มาผ่านเชี่ยวเลี้ยวถูกช่อง พระนอบมองบอกทางหว่างไศล ถึงน้ำเชี่ยวเกลียวกล้ามาอย่างไร เรือเราไวผ่านได้ไม่ต้องรอ ผ่านเชี่ยวป่งตรงนี้มีหินมาก อย่างดักขวากกลางท่านักหนาหนอ เรือขึ้นล่องต้องระวังตั้งใจคอ ถึงเรือถ่อผิดร่องต้องจมลง เลยเชี่ยวป่งม่งเลี้ยวถึง เชี่ยวหมอน ไม่ต้องผ่อนผ่านได้ดังประสงค์ บ้านหนึ่งหลังฝั่งซ้ายภายในวง มองเห็นดงสวนร้างสร้างทุเรียน ทุเรียนใครไม่มารักษาไว้ ปล่อยให้ไม้รุงรังดังดงเสียน ถ้าแผ้วถางสางไว้ให้สวนเตียน ผลทุเรียนคงดีมีราคา มีเคหาขวาฝั่งห้าหลังเรือน พอเป็นเพื่อนพึ่งพักช่วยรักษา ความสงบสบสุขทุกเวลา ชวนกันสามัคคีดีอุดม มาถึง เชี่ยวสาคลี่ มีคลองแยก เรียกว่าแพรกสาคลี่ ชื่อนี้สม แต่สาคลี่นี้เรายังเงางม จะเป็นสมญาใดไม่แจ้งการ มีน้ำเชี่ยวเลี้ยวลดทั้งคดแคบ หินในแถบนี้ขวางอยู่กลางย่าน เรือขึ้นล่องล่มจมอยู่ซมซาน บางลำผ่านพุ่งชนจนภินท์พัง มีเรือนบ้านด้านขวาหลังคาสี่ ฝั่งซ้ายมีรวมๆอยู่สามหลัง เรือเรามุ่งตรงช่องมองระวัง จึงให้หลังเลี้ยวลาสาคลี่ไป เรือไววิ่งดิ่งผ่าน ย่านน้ำตาย ชื่อนี้ได้รู้ความน้ำไม่ไหล เห็นแต่ที่ทำไร่อยู่ชายไพร เรือวิ่งไวเลยผ่านย่านน้ำตาย มาถึงย่าน บ้านใหญ่ เข้าใจว่า เป็นคามาใหญ่กว้างอย่างมากหลาย แต่พระนอบตอบเราเขาบรรยาย ไม่มากมายสิบห้าหลังคาเรือน มองเห็นสวนล้วนต้นพืชผลไม้ ปลูกเรียงรายทั่วไปหาไหนเหมือน แต่มากอย่างสร้างสรรค์กันเลอะเลือน ดูกล่นเกลื่อนต้นไม้มากหลายพันธุ์ สวนผสมสร้างชั้นบรรพบุรุษ ไม่มีจุดมุ่งหมายให้สร้างสรรค์ อะไรเหมาะเพาะปลูกไม่ผูกพัน ปลูกสิ่งนั้นสักหน่อยตะบอยไป ปลูกสิ่งนี้สักหน่อยแล้วปล่อยไว้ ถ้าไม่ตายมีผลเป็นต้นใหญ่ ปล่อยตามบุญตามกรรมอยู่ร่ำไป ผลกำไรจึงด้อยน้อยราคา ไม่เหมือนสวนสมัยนี้ที่เขาสร้าง ตามเยี่ยงอย่างฝนฝึกได้ศึกษา ความรู้มีเรื่องธรณีวิทยา เขาค้นคว้าหาคุณภาพดิน ควรปลูกสร้างอย่างไหนให้เหมาะสม ผลอุดมได้มาเป็นอาสิน เอาสักอย่างสร้างไว้ให้พอกิน สมท้องถิ่นค้าขายได้กำไร นาวาวิ่งทิ้งทางอย่างรีบร้อน น้ำกระฉ่อนคลื่นคลั่งอย่างกังหัน รีบตะบึงถึงสองพี่น้องพลัน เบาเครื่องหันจอดท่าหน้าอาราม เห็นพวกเด็กวิ่งชิงทางมา ดูนาวาเรามองแล้วร้องถาม ถึง ท่านอั้น ใบฎีกา เจ้าอาราม ครั้นได้ความว่าไปเหนือเร่งเรือไว เมื่อเวลาสิบสี่.สี่สิบห้า ธรรมวารีรุดไม่หยุดไหน ถึง เชี่ยวโร โอ่เรียกสำเหนียกใด มีน้ำไหลเป็นเกลียวกลางเชี่ยวโร มาถึง ปากบางหมาน บ้านไม่มี ในแถวนี้ป่ากว้างอย่างอักโข มีทั้งไร่สวนร้างอย่างใหญ่โต ต้นชงโคขึ้นเคียงอยู่เรียงราย ชี้ชมพรรณปักษาคณานก บางตัวตกใจดิ้นบินไปหาย นกขมิ้นจับขมิ้นบินกรีดกราย ที่เจอะไม้นกกระไนกลางไพรวัน นกจากพรากจากคู่บินวู่ว่อน จับสะท้อนเงื่องเหงานกเขาขัน โน้นนกแก้วจับแก้วแล้วพากัน บินถลันพาคู่จู่เข้าพง ดุเหว่าร้องก้องไปในราวป่า สาลิกาบินมาจับกาหลง หมู่นกมากหลากหลายภายในดง ชมก็คงไม่หมดเหลือจดจำ มาประเดี๋ยวถึงเชี่ยวชื่อ งูเลื้อย ดูยาวเฟื้อยแคบกว้างหนทางน้ำ มีก้อนหินกีดขวางทางประจำ ทำเกลียวน้ำคดเคี้ยวเลี้ยวไปมา อย่างงูเลื้อยเลี้ยวลดคดไปซ้าย แล้วโยกย้ายเลี้ยวลดคดไปขวา เรือขึ้นล่องต้องหันผันไปมา ถ้าพลาดท่าเข้าชนป่นปี้ไป มีบ้านคนหนึ่งหลังอยู่ฝั่งขวา ในราวป่าเขากล้ามาอาศัย ขับเรือเลี้ยวงูเลื้อยเฉื่อยฉิวไป ถึง วังใหญ่ เห็นย่านหมู่บ้านคน ข้างฝั่งซ้ายสี่ห้าหลังคาเรือน อยู่เป็นเพื่อนพึ่งพาคราขัดสน สองสามหลังฝั่งขวาเห็นหน้าคน วิ่งลุกลนมาดูอยู่ริมคลอง มาถึง เชี่ยวศอกชะนี ที่คับขัน น้ำหวนหันเรือไปไม่ใคร่คล่อง เชี่ยวนี้งอข้อศอกระลอกนอง มีหินกองกีดขวางทางเรือจร เมื่อเวลาสิบสี่.ห้าสิบห้า เครื่องนาวาร้อนนักหยุดพักผ่อน ถ่ายรูปเชี่ยวเกลียวน้ำตามสาคร และสิงขรสองขอกศอกชะนี เติมน้ำมันอีกปีบด้วยรีบร้อน เร่งเรือผ่อนพ้นแก่งแหล่งวิถี เมื่อเวลาสิบห้าแห่งนาฬีก์ ศอกชะนีนี้อะไรใคร่วิจารณ์ มีบางคนท่านบอก “ซอกที่นี้” นิยายมีแจ้งประจักษ์เป็นหลักฐาน จะร่ำเรื่องยืดยาวเล่านิทาน จะเสียกาลนานเนิ่นเกินเวลา มาถึง เชี่ยวส้มโอ ดูโตใหญ่ คนอาศัยแปดหลังฯข้างฝั่งขวา ข้างฝั่งซ้ายวารีสี่หลังคา มีภูผาปิดบังทั้งสองทาง อยู่ตรงนี้เหมือนมีกำแพงกั้น สองข้างชันสูงใหญ่ไม่เหินห่าง พฤกษาส่ำต่ำสูงโน้นยูงยาง เหล่าลิงค่างบ่างชะนีมีถมไป ถึง ย่านเขาพร้าหัก มลักแล ดูเป็นแง่เป็นเงื้อมเลื่อมไศล หน้าหลากลายพรายพร่างอย่างวิไล ภูเขาใหญ่อยู่ทางข้างฝั่งซ้าย เขาบอกว่าหน้าผารูปพร้าหัก เห็นประจักษ์จริงอยู่ดูพอคล้าย สีดำๆด่างๆอย่างลวดลาย เราหยุดถ่ายรูปแล้วก็แคล้วไป ในแถวนี้มีเขาลำเนาผา ทั้งหลังหน้าสองข้างหว่างไศล เป็นชะแง่ง่อนเงื้อมเลื่อมวิไล ทั้งเล็กใหญ่ซับซ้อนสลอนลาย ยาวเป็นพืดยืดมาทั้งหน้าหลัง มาหยุดยั้งเป็นช่องเขาสองฝ่าย ครั้นลมพัดพาฝนหล่นกระจาย ทั้งเหนือใต้ผ่านทางหว่างคีรี เรียก ช่องลม ช่องฝน คนตั้งชื่อ ลมกระพือพัดล่องช่องวิถี เราชี้ชมพนาวันบรรดามี ข้างคีรีหินห้อยย้อยยาวยาน เป็นชะแง่ง่อนงุ้มเป็นปุ่มป่ำ บางแห่งดำเหลืองลายหลายสถาน เป็นโกรกกรวยห้วยห้องช่องลำธาร บางแห่งย่านเถาวัลย์พันรุงรัง ต้นพฤกษาป่าสูงเห็นยูงยาง แลสล้างเหลี่ยมผาทั้งหน้าหลัง ศิลาแดงแสงวาวขาวมลัง วิจิตรดังเลขาฉาบทารงค์ ประเดี๋ยวถึงลำเนา เขานกยาง ตั้งอยู่ข้างฝั่งขวาน่าพิศวง ไหล่คีรีมีถ้ำเป็นว้ำวง ปากถ้ำตรงลำคลองมองขึ้นไป เห็นเป็นรูปนกยางอยู่กลางถ้ำ เกาะประจำบนก้อนง่อนไศล ผันหางทางปากถ้ำเห็นรำไร มองจากไกลใหญ่อย่างนกยางจริง เราใช้กล้องส่องดูในรูถ้ำ ถ่ายรูปซ้ำเพื่อให้ได้ไว้เป็นสิ่ง อนุสรณ์จรเห็นตามเป็นจริง เสร็จแล้ววิ่งเลี้ยวขวามาไม่นาน ลุ บ้านช่องลม ดูสมชื่อ ช่องนี้หรือลมพัดอยู่ฉัดฉาน ระหว่างช่องสองเขาลำเนาธาร เจ็ดแปดบ้านเรือนตั้งอยู่ฝั่งซ้าย ถึง ทอนกวาง ข้างซ้ายใกล้ลำคลอง ราวสิบสองเรือนบ้านประมาณได้ ว่าแต่ก่อนทอนท่าหญ้ามากมาย มีกวางทรายออกกินติณชาติ มาถึง บ้านน้ำหัก ยักไปขวา เขาเล่าว่าก่อนนี้มีหลังหาด คลองคดแคบแอบผาศิลาลาด น้ำกัดขาดไหลนองเป็นคลองไป บนฝั่งซ้ายใกล้คลองมองเคหา มีสี่ห้าหกหลังทั้งเล็กใหญ่ พี่น้องเราเหล่านี้ไม่มีภัย อยู่เย็นใจกว่าบ้านย่านมากมาย มาถึง บ้านหลังถ้ำ ลำคลองเลี้ยว น้ำก็เชี่ยวเขาขวางอยู่ทางซ้าย ลำคลองชิดติดผาศิลาลาย เรือเข้าใกล้ปากถ้ำเห็นว้ำเวิ้ง มีน้ำย้อยอย่างฝอยวัสโสทก ไหลเลื่อนตกจากผาศิลาเหลิง ภูเขาง้ำลำชละเป็นพะเพิง เรารื่นเริงรื่นรมย์ชมบรรพต เรียก ถ้ำหมอก ซอกผาศิลาถ้ำ หมอกคลุมคล้ำมืดมัวทั่วไปหมด เรือวิ่งเพรียวเลี้ยวซ้ายไม่ละลด ประเดี๋ยวจดวัดถ้ำที่สำคัญ ที่ปากถ้ำลำทางส่วนข้างหน้า ริมธารารูปพระพุทธพิสุทธิไส ประดิษฐานผันหาชลาลัย ไม่เล็กใหญ่หน้าชมพอสมควร เรียกว่า วัดถ้ำพระ ประเสริฐนัก ดูเป็นหลักเขตคามไปตามส่วน ใครอยู่เย็นเป็นสุขทุกข์ไม่กวน ไกลประมวลสังคม ชมรมพาล ภูเขาถ้ำล้ำดินถิ่นอาวาส ป้องอากาศแดดฝนไม่หล่นผ่าน เป็นเพิงผาหน้าหลากลายตระการ อย่างอาคารคอนกริตชนิดดี มาคราวนั้นฉันเขียนคือเปลี่ยนนาม เป็น “วัดถ้ำวราราม” ตามใจฉัน หมายถึงคำถ้ำพระเสมือนกัน แต่ได้สรรสร้อยเสริมเติม อาราม ให้ บำรุง สาริพัฒน์ จัดลิขิต อักษรติดหน้าผาภาษาสยาม ได้สั่งไว้ให้สลักจักงดงาม แต่ทราบความขัดเหล็กสกัดกัน ฉันกลับหลังครั้งนี้ไม่มีขัด หาเหล็กสกัดส่งผ่านทางท่านอั้น ให้สลักอักษรสิ่งสำคัญ รวมถึงวันเดือนปีที่ระลึก วัดถ้ำนี้มีประวัติไม่ชัดนัก ใคร่รู้จักจึงได้ให้ซักถาม มีผู้เฒ่าเล่าต่อพอได้ความ ว่าอารามนี้ตั้งครั้งโบราณ นามสมภาร ท่านกล้วย ช่วยแผ้วถาง แล้วก่อสร้างสำนักเป็นหลักฐาน แต่ได้ใช้คูหาเป็นอาคาร กุฏิ์วิหารคือถ้ำอันอำพน ท่านกล้วยดับลับไปไม่มีผู้ จะก่อกู้วัดนี้ให้มีผล ต้องแรมร้างว่างไปไม่มีคน ได้เริ่มต้นขึ้นใหม่ไม่นานนัก คือท่านอั้นสรรสร้างให้ถางป่า หลังภูผาพื้นที่จึงมีหลัก ปีสองสี่เก้าแปดเป็นประจักษ์ เกิดเป็นหลักศาสนาแต่ครานี้ ให้ ท่านชิต เปสโล เป็นโตใหญ่ ปกครองในเขตขันฑ์คีรีศรี จงริเริ่มเสริมสร้างให้อย่างดี อย่าทิ้งที่วัดถ้ำวราราม ที่หน้าผาหน้าท่าหน้าอาวาส ดูประหลาดชอบกลทุกคนถาม มีรูปแลนคารูดูก็งาม สีคล้ายครามแก่ๆแง่ศิลา เรื่องนิยายยกไว้ต่อภายหลัง จะเล่าฟังแจ้งชัดในอรรถา เราขยับจับกล้องส่องฉายา ถ่ายแลนคารูไว้ได้ดูเงา แล้วแจ้งความถามหาใบฎีกาอั้น, กับเด็กนั้นมามองในช่องเขา, ว่าไปไกลห่างต่างลำเนา สะพานเต่า หาไม้ใช้ทำโลง ปล่อยอารมณ์ชมถ้ำซ้ำอีกหน, มองขึ้นบนตามช่องเช่นห้องโถง มีฉากกางกลางห้องดังท้องพระโรง ดูคดโค้งอย่างคิดประดิษฐ์ประดอย มาถึง บ้านสะพานเต่า เราจนใจ เหตุอะไรชื่อนี้มีมานาน เห็นมีบ้านหนึ่งหลังข้างฝั่งขวา ฝั่งซ้ายว่าคนมีสิบสี่บ้าน ทางข้ามน้ำก่อนนี้มีสะพาน เต่ามาคลานข้ามน้ำตามไปมา ในบ้านนี้ว่ามีคนชำนาญ เล่านิทานเรื่องพนมสมนักหนา ชื่อ “ป้าปีดนิทาน” เราผ่านมา ใคร่สนทนานิทานโบราณคดี แต่เวลาน้อยนักจักรีบจร ตะวันอ่อนเกรงลับดับแสงสี ในวันหน้าหาโอกาสอาจจะมี ในบัดนี้ขอลาป้าปีดไป ประเดี๋ยวหนึ่งถึงย่าน บ้านบางบอน ชื่อนี้ร้อนรำคาญทานไม่ไหว แต่บางบอนไม่ร้อนแรงเท่าใด ไม่ทำใครให้ช้ำด้วยลำบาง แต่ปากบอนค่อนว่าสารพัน คือปากคันครหาว่าถากถาง พูดติเตียนเบียนบิดให้ผิดทาง เพื่อลบล้างความดีเขามีจริง ด้วยริษยาตาร้อนนอนไม่ลง ต้องเที่ยวส่งเสียงดังทั้งชายหญิง พูดนินทาว่าคนซนเหมือนลิง โลกเรายิ่งวุ่นวายไม่เว้นวัน เรื่องนินทาว่าร้ายไม่หายแน่ เป็นกระแสโลกีย์ที่หวนหัน เป็นธรรมดามาแน่แต่เบื้องบรรพ์ ไม่มีวันจะสางและบางเบา มาถึง เชี่ยวต้นสะตอ พอคิดได้ สะตอไม้ผลดีมีมากหลาย เชี่ยวไม่แรงแก่งน้อยค่อยสบาย เรือโยกย้ายเลี้ยวล่องผยองไป เรือวิ่งผ่านซึ่งย่าน สะบ้าย้อย ยาวนิดหน่อยลำคลองน้ำนองไหล และ ยุ้งข้าว หรือ โยงข้าว คราวก่อนไกล ว่าถ้าใครได้ผ่านย่านนี้มา พวกคนธรรพ์นั้นอยู่บนภูเขา มักจะเอาข้าวสุกใส่โคมฝา ผูกเชือกหย่อนผ่อนลงในคงคา คนไปมารับประทานบานสบาย ครั้นต่อมาว่าคนทรยศ กินข้าวหมดแล้วทำระยำหลาย ขี้ใส่โคมคืนให้ไม่ละอาย แต่นั้นหายไม่โยงข้าวลงมา เรื่องเช่นนี้มีเล่ากล่าวกันไว้ ว่ามีหลายหนแห่งแหล่งภูผา ถ้าจริงจังดังกล่าวเล่าสืบมา ก็นึกน่าสมเพชในเหตุการณ์ มนุษย์เราเหล่านั้นน่าหมั่นไส้ ทำฉิบหายดังเล่ห์เดรฉาน ไม่แต่คนทุกวันเป็นอันธพาล คนโบราณก็มีอัปรีย์ครัน ถึง พับผ้า น่าดูอยู่ฝั่งขวา ริมธาราหินก้อนซ้อนหลายชั้น หยุดเรือจ้องมองเห็นเป็นอัศจรรย์ อย่างคนสรรแสร้งประดิษฐ์พิสดาร ถ่ายรูปแล้วแคล้วไปไวนักหนา ผ่านย่าน หมาแหน ที่มีหลักฐาน ว่ารูปหินมองเห็นเป็นสุวาน อยู่ในธารทางขวาท่าแหงนเงย แต่น้ำพัดผ่านพาเอาหมาล้ม บัดนี้จมสาครนอนนิ่งเฉย วิ่งผ่าน เชี่ยวคดเค็ด ระเห็ดเลย เชี่ยวนี้เคยได้ฟังแต่หลังมา เราเคยจำกำหนดเชี่ยวคดเค็ด เป็นกลเม็ดอย่างไรไฉนหนา นั้คือเชี่ยวเลี้ยวลดคดไปมา โค้งไปขวาไปซ้ายเป็นหลายที น้ำเชี่ยวเกินกำหนดที่คดเค็ด เรือระเห็ดไม่คล่องท้องวิถี ต้องเบาเครื่องเชื่องช้าผ่านวารี ลุถึงที่ เขาพัง ริมฝั่งชล อยู่ฝั่งขวาว่ามีคีรีแตก ศิลาแยกจากกันเสียงลั่นหล่น ลงริมคลองกองตั้งในวังวน มีสมญ เขาพัง แต่หลังมา ถึง เขาต้ม เขาเล่าว่า ข้าวต้ม เป็นพนมติดตั้งอยู่ฝั่งขวา มีนิยายได้เล่ากล่าวกันมา ไปข้างหน้าจะเล่าเค้านิทาน เร่งนาวามากระทั่ง วังหมื่นเดช เป็นขอบเขตแนวป่าพนาสาณฑ์ ว่าหมื่นเดชได้มาคราโบราณ ตั้งเรือนบ้านทำไร่หลายเวลา ถึง เชี่ยวยาว กล่าวไว้เราได้แจ้ง เชี่ยวเป็นแวงเป็นว้าวยาวนักหนา ยาวกว่าเชี่ยวใดๆในคงคา ที่ผ่านมาทุกเลี้ยวถึงเชี่ยวยาว ที่หัวเชี่ยวลี้ยวคล่องคลองไม่ตื้น ผู้ใหญ่ฟื้นตั้งอยู่มีผู้เล่า สี่หลังคาขวาฝั่งทั้งย่านยาว มิน่าเล่าหมู่บ้านย่านพนม หมู่บ้านนี้สี่เรือนเป็นเพื่อนกัน มีเท่านั้นหรือไรไม่เห็นสม มีอีกบ้างห่างไกลในสังคม เขานิยมอยู่เย็นเป็นสุขใจ ถึง บางตอง มองเห็นเป็นปากบาง อยู่ที่ข้างฝั่งซ้ายต้นไม้ใหญ่ พะยอมยูงสูงส่งดงมะไฟ จาบุไหรไข่เน่าคาวตะเคียน วิ่งผิดร่องคลองตื้นยื่นมาขวาง เสียงดังผางเครื่องรัวหัวเรือเหียน สลักหักพักพลันหันวนเวียน ช่วยกันเปลี่ยนอันใหม่เสียบใบพัด เสียเวลายี่สิบห้านาทีเสร็จ วิ่งระเห็จหันไปไม่มีขัด มาถึง เชี่ยวเหรียงทอง ต้องเลี้ยวลัด คลองแคบขัดคดคู้อยู่เป็นวง เชี่ยวเหรียงทองมองค้นหาต้นเหรียง งอกขึ้นเรียงรายอยู่ดูระหง คนเก็บเหรียงเพลี่ยงพล้ำกำลังงง แหวนหลุดลงคลองหายไม่คืนมา ผ่าน วังใหญ่ ในระหว่างทางฝั่งซ้าย เห็นเรียงรายริมฝั่งตั้งเคหา รอเรือจ้องมองเขม้นเห็นหลังคา สักสี่ห้าเรือนคนแล้วพ้นไป มาประเดี๋ยวเลี้ยวผ่าน สะพานนาค มองไปฟากฝั่งซ้ายบ้านไม่ใหญ่ มีสองสามหลังคาริมป่าไพร เรือวิ่งไวเลี้ยวผ่านย่านที่วัด ที่วัดนี้มีมาแต่คราหลัง ใครแรกตั้งไม่แจ้งแหล่งประวัติ เพียงลือเล่ากล่าวไว้ก็ไม่ชัด เรือวิ่งลัดหลีกไปในทันที ขอให้นามวัดนี้ที่จะตั้ง เพื่อให้ยั่งยืนอยู่คู่สยาม ชื่อว่า วัดสุมุญชการาม จงมีความภิญโญชั่วโลกี มาถึง ย่านต้นมะพร้าว ดูเข้าท่า มีหลังคาหนึ่งหลังตั้งที่นี่ อยู่บนฝั่งข้างซ้ายชายวารี โรงเรียนมีหนึ่งหลังตั้งมานาน โรงเรียนนี้นามว่า “บ้านหญ้าปล้อง” คนในท้องถิ่นนี้มีหลักฐาน มีนักเรียนไม่มากพอประมาณ สมกับบ้านคนห่างระหว่างกัน เมื่อสิบหก.ห้าสิบรีบมาถึง เป็นที่พึงพอในหัวใจฉัน เมื่อปีก่อนจรมาเวลาวัน เดือนเดียวกันดังกล่าวบอกเล่ามา แต่มาหยุดสุดทางที่วัดถ้ำฯ เพราะว่าน้ำลงแห้งแรงนักหนา ประมาณสิบนาฬีก์ที่เรามา เกือบถึงท่าวัดถ้ำวราราม ครูถ่อเรือเหงื่อไหลมุ่งไปเหนือ พอผ่านเรือของเขาเราร้องถาม ว่ามาโรงเรียนนี้ที่เขตคาม ที่มีนาม หญ้าปล้อง ล่องเลยมา ในครานั้นฉันเลยไม่เคยรู้ ว่าคุณครูต้องไปไกลนักหนา คราวนี้ผ่านย่านทางหว่างคงคา จึงรู้ว่าหนทางห่างไกลกัน แต่ออกจากวัดถ้ำฯ ธรรมวารี สี่สิบสี่นาฑีทางไม่สั้น เกือบสี่สิบกิโลฯ ทางโย้ครัน ครูคนนั้นถ่อเรือเหลือระอา บรรดาครูอยู่ทางห่างกันดาร ไปทำงานสอนฝึกเรื่องศึกษา ถ้าอยู่บ้านย่านไกลการไปมา เสียเวลาเสียการงานของครู ควรให้ครูอยู่ใกล้ได้อ่านเขียน สอนนักเรียนใกล้บ้านที่ท่านอยู่ ไม่ต้องเที่ยวถ่อเรือจนเหงื่อพรู บัดนี้ครูคนเก่าเขาย้ายไป อยู่โรงเรียนวัดถ้ำฯได้ทำงาน ใกล้ถิ่นฐานเคหาที่อาศัย คือ ครูแซว แถวนี้ที่ใครๆ ต่างพอใจนับถือชื่อเสียงดัง ประเดี๋ยวหนึ่งถึงย่าน บ้านหญ้าปล้อง รอเรือมองเคหาข้างขวาฝั่ง มีเจ็ดแปดหลังคามาจิรัง เป็นบ้านตั้งหลักฐานนานเวลา หญ้าปล้องนี้มีผู้เฒ่าเล่าให้ฟัง ว่าแต่ครั้งก่อนกาลนานนักหนา มีชายหนึ่งซึ่งเป็นชาวไชยา แต่ทีท่าจะเป็นเช่นอันธพาล เที่ยวซัดเซพเนจรรอนแรมไป ชอบที่ไหนหยุดพักไร้หลักฐาน แต่เวียนไปวนมาเวลานาน จนถึงย่านตะกั่วป่าอาศัยพัก บ้านแห่งหนึ่งซึ่งมีภริยา สาวสง่าสามานย์กล้าหาญหนัก ในเรื่องกามารมณ์บ่มความรัก จึงลอบลักเล่นชู้สู่หากัน กับชายชาวไชยาผู้อาศัย นางหลงใหลชู้รักสมัครมั่น กับชายชู้อยู่มาไม่นานวัน ก็พากันหนีพรากจากสามี ข้ามเขาศกลกลันกันทั้งสอง ถึงหญ้าปล้องเขียนป้ายชายวิถี หวังจะไว้ลายลวดอวดกวี ว่าดังนี้ถ้อยคำอย่างลำพอง “พี่ไม่ดีพี่ไม่พาสุดาเดิน ข้ามแนวเนินเขาศกตกหญ้าปล้อง” ข้างสามีตะกั่วป่ากล้าคะนอง สกดร่องรอยมาไม่ช้านาน ทันที่บ้านหญ้าปล้องทั้งสองชาย เกิดวุ่นวายแย่งรักอย่างหักหาญ ข้างชายชู้ดูเห็นไม่เป็นการ รีบลนลานหนีไปเมืองไชยา ข้างเมียหนีไม่ทันต้องหันรับ โทษเฆี่ยนขับกับหวายอายนักหนา ผัวมองเห็นแผ่นป้ายชายมรรคา แล้วจึงจารึกคำต่อทำนอง “พี่ไม่ดีพี่ไม่พาสุดากลับ ทั้งเฆี่ยนยับกับหวายหลังเป็นลายสอง” แล้วพาเมียกลับอยู่เป็นคู่ครอง บ้านหญ้าปล้องเป็นนิทานกาลต่อมา ถึง ฉางสาร บ้านนี้ว่ามี ฉาง เป็นที่ค้างข้าวสารนานนักหนา มีคนขนข้าวสารสารผ่านขี้นมา ส่งตะกั่วป่ามาค้างที่ฉางนี้ เห็นสองหลังฝั่งซ้ายชายชลธาร ปลูกเป็นบ้านอยู่ในกลางไพรศรี มาถึง เชี่ยวต่อตั้ง ยั้งนาวี ชื่อเชี่ยวนี้ชอบกลน่าสนใจ เรื่องต่อตั้งตั้งต่อขอให้คิด ไมตรีจิตมิตรสหายได้อาศัย ถ้ามิตรจิตติดตั้งฝังไว้ใน ส่วนมิตรใจต่อตั้งก็ยั่งยืน ไม่ควรต่อตั้งต่อข้อชั่วร้าย เรื่องทำลายศีลธรรมซ้ำฝ่าฝืน ผู้ต่อตั้งตั้งต่อก็เต็มกลืน อย่าเอาฟืนเติมไฟให้ลุกลาม เรือแล่นเลี้ยวถึงเชี่ยวชื่อ กระบอก เป็นระลอกฉานฉ่าน่าเข็ดขาม สองฝั่งพงดงหนาพนาราม ช่างงดงามธรรมชาติสะอาดตา ถึง เชี่ยวไทร ใจเต้นเห็นน้ำเชี่ยว, เป็นเกลียวๆกลิ้งกลอกระลอกฉ่า มีกอคล้ายไม้งอกซอกธารา ก้อนหินผากองตั้งอยู่คั่งคับ สายน้ำตื้นพื้นเชี่ยวเลี้ยวขึ้นขวา ช่องชลาแคบมากแคบมากยากขยับ เราคิดขามคร้ามเชี่ยวจะเลี้ยวลับ เป็นที่คับขันนักจักผ่านไป ทำใจป้ำขับธรรมวารี บุกขึ้นที่ช่องเชี่ยวเกลียวน้ำไหล หลีกต้นไม้ย้ายมาขวาทันใด ได้ยินใบจักรฟันคันศิลา สลักหักจักรหยุดเพียงหวุดหวิด หัวเรือผิดร่องน้ำล้ำถลา ท่านอั้นโจนโผนลงในคงคา พระนอบผ่าลงน้ำยึดลำเรือ น้ำเชี่ยวจัดพัดส่งเรือลงล่าง สององค์ต่างจับกระชากลากขึ้นเหนือ ฉันสั่งรุกปลุกใจอยู่ในเรือ สององค์เหงื่อปนน้ำบอบช้ำครัน จนพ้นเชี่ยวเลี้ยวเลียบเข้าเทียบหาด สลักขาดซ่อมแปลงจนแข็งขัน เสียเวลาสิบห้านาทีทัน ดวงตะวันจวนดับลงลับไพร ถึง ทอนทือ ชื่อทอนก่อนเขาตั้ง ปากอยู่ฝั่งข้างขวาชลาไหล ในทอนนี้มีซากสำเภาใบ ลำโตใหญ่จมดินบางชิ้นดี แสดงว่าคราหลังครั้งคลองกว้าง เป็นเส้นทางเรือจรแต่ก่อนกี้ ใช้ลำเลียงสินค้าบรรดามี จากฐานที่อ่าวไทยไปประจิม ขึ้นดอนเดินเนินเนาข้ามเขาศก ไม่เวียนวกตรงทางข้างปัจฉิม เอาเรือจอดทอดไว้ใกล้ร่องริม และจดจิมแดนป่าพนาลัย เรืออับปางขวางคลองจนร่องตื้น ขึ้นเป็นพื้นราวป่าพฤกษาศัย คลองโยกย้ายกลายสภาพลำลาบไป เป็นทอนใหญ่ที่นั้นอันดับมา เชี่ยวมะม่วง ล่วงถึงซึ่ง เนียดนก เวลาตกนาทีสี่สิบห้า เป็นของเศษสิบเจ็ดนาฬิกา หยุดเติมอาหาร ธรรมวารี อีกหนึ่งปีบรีบไปไม่รอช้า สิบเจ็ด.ห้าสิบพลันหันจากที่ ถึง เชี่ยวสองพี่น้อง มองพงพี ฝั่งซ้ายมีพฤกษาน่ารื่นรมย์ เมื่อห้าร้อยเศษศกศาสนา ทหารมาลองโลดกระโดดร่ม ทำที่พักอาศัยในพนม คนมาชมทวยทหารทะยานบิน มาถึง เชี่ยวหินขวาง อยู่กลางเชี่ยว เรือแล่นเลี้ยวหลีกทางไปหว่างหิน บางแห่งตื้นพื้นคลองมองเห็นดิน กระแสสินธุ์เชี่ยวจัดพลัดลงมา มาประเดี๋ยวเชี่ยวงามชื่อ สามรู เราพิศดูก็ไม่เห็นเป็นอย่างว่า มองเห็นมีสี่รูอยู่กับตา ไฉนมาเรียกนามว่า สามรู เราขอตอบบัญญัติให้ชัดความ เปลี่ยนชื่อตามฐานที่อันมีอยู่ ให้เรียกชื่อนี้ว่า สี่รู จงตั้งอยู่ชั่ววันกัลปา มาถึง พ่อตาควาย เราได้เห็น ที่แท้เป็นหนึ่งชิ้นก้อนหินผา ตั้งอยู่ข้างฝั่งซ้ายในคงคา โผล่ขึ้นมาเล็กน้อยเช่นลอยวน เห็นสีแสงแดงเรื่อเป็นเนื้อหิน ปริ่มวารินทัศนาน่าฉงน สมญา ตาควาย ไฉนคน ให้สมญแกว่า พ่อตาควาย เป็นอารักข์แสนศักดิ์สินธิ์ ใครพลั้งผิดบกพร่องต้องฉิบหาย เรือไปมาถ้าชนพ่อตาควาย ต้องทำลายล่มลงในคงคา ใครไปมาบูชาพ่อตาแล้ว ก็คลาดแคล้วขึ้นล่องคล่องนักหนา ไม่เผลอพลาดขาดระวังข้างนาวา ไม่เสียท่าก็ไม่เห็นจะเป็นไร เขาเล่าว่าตาควายใต้คงคา มีสี่ขาแข็งแรงแหล่งไศล เราหยุดยังฝั่งขวาแล้วว่าไป “จงเห็นใจเถิดหนาพ่อตาควาย เรามาเปลี่ยวเที่ยวท่องปลายคลองศก อย่าให้ตกทุกข์ยากลำบากหลาย เราขอแผ่เมตตาอย่าวุ่นวาย พ่อตาควายจงช่วยอำนวยการ ให้ขึ้นล่องคล่องคลายสบายเหลือ บังคับเรือตามแควกระแสสาร อย่าเกยดินหินผาพารำคาญ, อยู่เถิดท่านพ่อตาขอลากัน” แล้วจึงใช้ไฟแพล๊บแสงแปลบปลาบ ถ่ายรูปภาพตาควายได้เสร็จสรรพ์ เสียเวลาหยุดห้านาทีทัน เร่งเรือผันโผนไปในทันที วิ่งมาได้ประเดี๋ยวผ่านย่านเชี่ยวเกาะ ผ่านเฉพาะปากช่อง คลองหน่ายศรี ไม่ยั้งหยุดจุดไหนไวทันที มาถึงที่ นาใต้ สบายใจ ที่ฝั่งซ้ายใกล้คลองมีสองบ้าน ปลูกเรือนร้านเลี้ยงหมูอยู่อาศัย เมื่อสิบแปดเศษเจ็ดเผด็จภัย สำราญใจยั้งหยุดเกือบสุดทาง จากบ้านดอนจรมาห้าโมงครึ่ง บรรลุถึงนาใต้ไม่ขัดขวาง ขอสำนักพักนอนในระวาง พอรุ่งรางจะไปหยุดที่สุดคลอง ชื่อ แม่ปริ่ม เย็นใจ ให้ลูกมา ร้องทักหาปราศรัยไม่มีหมอง นิมนต์ขึ้นเคหาวางผ้าครอง ขนสิ่งของจากลำธรรมวารี เราสามองค์สรงน้ำเมื่อยามค่ำ ช่างชื่นฉ่ำชูใจได้ขัดสี น้ำใสเย็นเห็นปลาในวารี ในวันนี้เป็นประวัติสันทัดการ ไม่มีใครได้มาห้าโมงครึ่ง บรรลุถึงปลายศกเขตสถาน ถ้าใช้เรือธรรมดามากันนาน สามวันวารระยะทางเป็นอย่างไว มาถึง ปากนายเพ็ชร์ เขตพงพี ที่ตรงนี้เมื่อครั้งแต่หลังมา นายเพ็ชร์มาตั้งบ้านอยู่นานหลาย นายเพ็ชร์ตายเสียนานกาลหนักหนา บ้านก็ร้างว่างเว้นเป็นพนา น้ำเชี่ยวกล้าคลื่นคลั่งดังตกลง เรือจะดิ่งวิ่งไปไวไม่ได้ เกรงชนไม้กลางคลองต้องแหลกผง น้ำก็ตื้นพื้นเชี่ยวเลี้ยวเป็นวง ดับเครื่องลงลากลำข้ามเชี่ยวไป ใบฎีกาอั้นท่านนอบนายทะวาย ทั้งสามรายแข็งขันไม่หวั่นไหว ฉุดกระชากลากเรือนองเหงื่อไคล น้ำก็ไหลปะทะถอยลอยลงมา ไม่ยอมหยุดรุดรั้งตั้งต้นใหม่ ลากขึ้นไปหัวเชี่ยวเกลียวน้ำกล้า น้ำไหลพลุ่งพุ่งพัดซัดนาวา ถอยกลับมาท้ายเชี่ยวประเดี๋ยวใจ แต่ลากขึ้นลอยลับกลับหลายหน ปล้ำกันจนขึ้นได้แถบไม่ไหว เราสงสารสามคนเป็นใจ ล้วนเหงื่อไคลไหลหล่นปนวารี ติดเครื่องยนต์จนมา หน้าลาผึ้ง เสียงดังผึงปิ๊นจักรหักกับที่ ต้องหยุดซ่อมเสร็จได้หลายนาฑี ต่อจากนี้น้ำน้อยลากลอยไป มาถึง เชี่ยวบ้านนอก น้ำกลอกกลิ้ง วารีวิงดังลั่นอยู่หวั่นไหว บ้านนอกนี้เมื่อนานกาลก่อนไกล เป็นบ้านใหญ่คนตั้งหลายหลังคา เขาสำเนียกเรียกขาน บ้านปลายศก บัดนี้รกแรมร้างอย่างป่าช้า ต้นผลไม้รายรอบขอบพนา ปนกับป่าไม้ดงพงพนัส สะตอ. เตียน. ทุเรียน. มะพร้าว. หมาก ดูหลายหลากแลเห็นเป็นขนัด มาประเดี๋ยวเชี่ยวกล้าที่หน้าวัด เห็นป่าชัฏฝั่งซ้ายชายคงคา สุดคลองศกรกเรี้ยวน้ำเชี่ยวจัด ตรงหน้าวัดแรมรั้งอยู่ฝั่งขวา เรียกว่า ท่าต้นไทร คนไปมา ตะกั่วป่าขึ้นลงที่ตรงนี้ เราหยุดยั้งนาวาท่าต้นไทร ภาคภูมิใจปรีดิ์เปรมกษมศรี แปดนาฬิกาห้าสิบแห่งนาฑี ในวันนี้ต้องจัดประวัติการณ์ แต่เกิดมาครานี้ที่มาตก ปลายคลองศกทุเรศเขตสถาน เพราะตั้งใจไปมาเวลานาน แต่เหตุการณ์ติดขัดผัดผ่อนมา ครั้นเสร็จสรรพกลับหลังหวังจะชม พื้นพนมกว้างใหญ่ในไพรศิล ที่วัดร้างข้างซ้ายชายวาริน มีแต่ดินกับไม้หลายพืชพันธุ์ ในพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส เขตที่วัดมีคูเป็นขอบขันธ์ ยี่สิบแปดวากว้างยาวส่วนเท่ากัน น่าอัศจรรย์ใจเห็นเป็นอย่างไร ที่อารามตามป่าพนาสัณฑ์ จึงแคบสั้นอย่างนี้มีที่ไหน ด้วยที่ดินแดนป่าพนาลัย เอาเท่าไรเอาได้ไม่ขาดแคลน รอบวัดนี้ที่ตั้งทั้งสามด้าน ของชาวบ้านนานเนาเขาหวงแหน เป็น”สวนอ้าว”เจ้าของครองดินแดน เห็นจะแค่นขยับขยายไม่ง่ายนัก ใครไม่รู่คู่ควรเรื่อง สวนอ้าว ฉันจะเล่าตามเห็นไว้เป็นหลัก คือป่าไพรไกลบ้านกันดารนัก แต่คนมักอวมที่มีผลไม้ ถ้าใครไปเก็บผลคนนั้นว่า อ้าว! ของข้าอย่าเอาเราไม่ให้ อ้าว สวนนี้ของข้าอย่าวุ่นวาย อ้าว ไว้หลาย เขตขันฑ์อรัญวาส์ คนทั้งหลายได้ฟังดังเขา อ้าว พากันเข้าใจแท้แน่นักหนา ว่าคน อ้าว เจ้าของครองพนา จึงไม่กล้าเอาอะไรในสวนนั้น สวนอย่างนี้มีนามตามที่เล่า เรียก”สวนอ้าว”มากมายหลายเขตขันฑ์ ติดต่อเขตวัดนี้ที่สำคัญ สวนอย่างนั้นมีบ้างหรืออย่างไร จึงขอให้สมภารคือท่านอั้น สอบสวนกันให้แน่ว่าแค่ไหน ขอที่ดินถิ่นป่าพนาลัย รวมเข้าในวัดร้างกว้างพอควร อย่างน้อยจัดวัดศกสักหกไร่ คงจะได้พองามไปตามส่วน ครั้นบ้านนี้มีผู้อยู่พอควร ขอให้ชวนกันถางสร้างอาราม วัดศกนี้มีประวัติจัดมาเล่า มีคนเฒ่ากล่าวกันเมื่อฉันถาม เริ่มก่อตั้งครั้งใดไม่ได้ความ ทราบแต่นามผู้ตั้งครั้งก่อนมา ชื่อ ท่านผุด ผู้สร้างถางป่ารก จึงวัดศกเป็นอาวาสศาสนา ครั้นท่านผุดสุดสิ้นชีวินทรา ท่านกลีบ มาสร้างเสริมเติมต่อไป สิ้นท่านกลีบ ท่านกล่ำ ทำหน้าที่ ในยุคนี้อาเพศเกิดเหตุใหญ่ โรคฝีดาษระบาดเข้ามาใน คนตายไปมากมายบ้างย้ายแยก หนีกระจัดพลัดพรายไปใต้เหนือ บ้างลงเรือเดินไปหลายแผนก บ้านปลายศกสงสารเป็นบ้านแตก อย่างสาแหรกขาดสะบั้นบ้านร้างไป ส่วนวัดศกสวยงามร้างตามบ้าน ท่านสมภารนั้นหนีไปที่ไหน หรือว่าไข้ทรพิษเอาติดไป ไม่มีใครเล่าไว้ไม่ได้ความ ขอเติมนามวัดนี้ที่จะตั้ง ให้ยืนยั่งต่อไปถ้าใครถาม จงชื่อว่า”วัดศกสุขาราม” ขอให้นามตั้งมั่นชั่วกัลปา ท้าวเทวาอารักข์ที่ศักดิ์สิทธิ์ สิงสถิตอยู่ทั่วทุกทิศา โปรดเงี่ยทิพโสตะสวนา สอดสายตาทิพย์จ้องมองเหตุการณ์ ว่าข้าพระธรรมรัตชโยดม-(เกตุ) นิยมพุทธศาสน์เป็นมาตรฐาน เคารพตรัยรัตนะสามประการ มาดูงานคณะสงฆ์ในวงนี้ พร้อมพระใบฎีกาอั้นและท่านนอบ ได้ถามสอบทราบหลักเป็นสักขี ว่าริมฝั่งข้างซ้ายชายวารี เคยเป็นที่พักสงฆ์คือวงวัด สั่งให้คืนฟื้นฟูดูแลไว้ เพื่อจะได้ทำประโยชน์ที่โปรดสัตว์ เมื่อคนมาตั้งบ้านย่านใกล้วัด จึงให้จัดสงฆ์คณามาครอบครอง ขออารักข์ศักดิ์สิทธิ์ทุกทิศสถาน เป็นพยานรู้เห็นอย่าเป็นสอง ช่วยรักษาอย่าให้ใครจับจอง เพื่อเป็นของศาสนาจิราการ ต่อจากนั้นฉันลาอาวาสร้าง ลาป่ากว้างเหวผาพนาสาณฑ์ เสียดายนักจักดูอยู่ให้นาน แต่กิจการข้างหลังยังมากมี ขาดแต่ทาง วังกะทัง ยังไม่ถึง เพราะเป็นบึงเป็นบางหว่างไพรศรี ส่วนลำธารย่านตื้นพื้นวารี เวลานี้น้ำหลากไหลมากมา จะบุกน้ำตามทางย่างลำบาก มีหนามขวากหินขวางทางแถวท่า จะลากพานาวีอย่างที่มา กิ่งพฤกษากีดขวางอยู่ข้างบน เขาว่าที่วังกะทงยังมีหิน ซึ่งเป็นชิ้นประวัติศาสตร์อาจได้ผล ลายเลขาจารึกลึกน่ายล มีหลายคนอ่านดูไม่รู้ความ ใครลูบคลำทำท่าว่าจะเอา จ้าวขุนเขาวังกะทงคงสั่งห้าม เกิดฝนตกฟ้าร้องก้องคำราม ทั้งมีน้ำไหลลั่นมาทันที จะเท็จจริงสิ่งใดไม่รู้ได้ เพราะฉันไม่เห็นประจักษ์เป็นสักขี คราวหลังมาถ้ามีโอกาสดี ไปถึงที่วังกะทังตามตั้งใจ เรากลับหลังครั้งนี้มิใช้จักร เอาถ่อปักจ้องค้ำตามน้ำไหล เพื่อประหยัดน้ำมันกันเอาไป ใช้ที่ในคลองกว้างทางเคยมา ถึงนาใต้บ่ายหน้านาวาจอด แลตลอดสองบ้านย่านเคหา เห็นแม่ปริ่มยิ้มพลางยกย่างมา รวมทั้งตาชื่นวิ่งเป็นสิงคลิ มารุกถามความเราไปเขาศพ ว่าได้พบได้เห็นเป็นสักขี จะลำบากยากใจในพงพี หรือว่ามีสะดวกดายสบายบาน ตาชื่นชายไม่ใช่คนแก่เฒ่า ดูรุ่นราวเจ้าทะวายได้เป็นหลาน ของแม่ปริ่มปราโมทย์แกโปรดปราน จึงเรียกหลานว่า ตา เราว่าตาม เมื่อศกเศษศาสนาปีห้าร้อย ฉันมาลอยนาวาน่าเข็ดขาม เครื่องเรือเสียเกียร์ใช้ไม่ได้ความ ชื่น ช่วยหามเครื่องยนต์ขึ้นบนวัด ทั้งเณรพระคณะเราเหล่าชาวบ้าน ที่ในย่านสองพี่น้องเห็นข้องขัด ต่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และช่วยจัด ตามถนัดในเรื่องซ่อมเครื่องยนต์ (ที่เสนอให้อ่านนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ฉบับเต็มมีอรรถรสด้านกวีมากกว่านี้)

สวดมนต์ก่อนนอนแบบพี่หลวง

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (ต้นฉบับเดิม)
วิธีไหว้พระและสอดยอดพระกัณฑ์ไตรภิฎก-พระคาถาชินบัญชร
๑. คำบูชาพระรัตนตรัย
โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โยโส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
โยโส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
๒. คำนมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ(กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ(กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมัสสามิ(กราบ)
๓. ชุมนุมเทวดา
ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ-
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ
เขตเตภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุฯ ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตาฯ
๔.คำนมัสการพระพุทธเจ้า (ว่านะโม ๓ จบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
๕. บทไตรสรณาคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
๖. คำนมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ
๗. พระคาถาพาหุง
(๑) พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมาะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต(เม) ชะยะมังคะลานิ
(๒) มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต(เม) ชะยะมังคะลานิ
(๓) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต(เม) ชะยะมังคะลานิ
(๔) อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต(เม) ชะยะมังคะลานิ
(๕) กัตวานะ กัฎฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต(เม) ชะยะมังคะลานิ
(๖) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต(เม) ชะยะมังคะลานิ
(๗) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต(เม) ชะยะมังคะลานิ
(๘) ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต(เม) ชะยะมังคะลานิ
(๙) เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

๘. ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (ต้นฉบับเดิม)
๑. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วะตะ โส ภะคะวา .
อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ.
อะระหันตัง สิระสา นะมามิ.
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ.
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ.
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ.
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ.
สุคะตัง สิระสา นะมามิ.
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ.
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ.
๒. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ.
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ.
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ.
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ.
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
พุทธัง สิระสา นะมามิ. อิติปิ โส ภะคะวา ฯ
๓. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปารมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
๔. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อาโป ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เตโช ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วาโย ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.

๕. อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ยามา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะรูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
๖. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
๗. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
๘. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะมัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน.
๙. กุสะลาธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชัมพู ทีปัญจะ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นะโม พุทธายะ
นะโมธัมมายะ นะโม สังฆายะ ปัญจะ พุทธานะมามิหัง อาปามะ จุปะ ทีมะสังอังขุ สังวิธาปุกะยะปะ อุปะสะชะสะเห ปาสายะโส ฯ
โสโสสะสะ อะอะอะอะนิ เตชะสุเนมะภูจะนาวิเว อะสังวิสุโล ปุสะพุภะ อิสสะวาสุ สุสสะวาอิ กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิ.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิปัญจะ อิสสะโร ธัมมา.
กุสะลาธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
๑๐.จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลาธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นันทะปัญจะสุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ยามา อิสสะโร กุสะลาธัมมา พรหมาสัททะ ปัญจะสัตตะ สัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตุสิตา อิสสะโร กุสะลาธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
พรหมา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
๑๑. นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ พุทธิลาโภกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.
นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง มุนีสาวัง มหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธาระนังสาวัง สัพพะโลกาอิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ.
สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญา นิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ
๑๒. นะโมพุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา.
นะโมธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม.
นะโมสังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง.
นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโยโมนะ อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา อุอะมะอะ วันทา นะโมพุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ฯ (กราบ ๓ ครั้ง)
๑๐ อะภะยะปะริตตัง
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
๑๑.เมตตานิสังสะสุตตะปาโฐ
เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ
พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ
สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา ฯ กะตะเม เอกาทะสะ ฯ
สุขัง สุปะติ สุขัง ปะฏิพุชฌะติ ฯ นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ ฯ
มะนุสสานัง ปิโย โหติ ฯ อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ ฯ เทวะตา
รักขันติ ฯ นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ ฯ ตุวะฏัง
จิตตัง สะมาธิยะติ ฯ มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ ฯ อะสัมมุฬ์โห กาลัง
กะโรติ ฯ อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรัหมะโลกูปะโค โหติ ฯ
เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ
พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ
สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาติ ฯ อิทะมะโวจะ
ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา เต ภิกขุ ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติ ฯ
๑๒. พระคาถาชินบัญชร
( ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงและตั้งคำอธิษฐานว่า)
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร
๑.ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา
๒.ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก มุนิสสะรา
๓.สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
๔.หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
๕.ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเล
๖.เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
๗.กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
๘.ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ
๙.เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
๑๐.ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะ ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
๑๑.ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
๑๒.ชินนานา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
๑๓.อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะ โต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
๑๔.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพเต มะหาปุริสาสะภา
๑๕.อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ
๘. ชะยะปะริตตัง
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฎฐิตัง สุกขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต(เม)
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต(เม)
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต(เม)
๑๓.เทวะตาอุยโยชะนะคาถา
ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน
เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง
สัพเพ เทวานุโมทันตุ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ สีลัง รักขันตุ สัพพะทา
ภาวะนาภิระตา โหนตุ คัจฉันตุ เทวะตาคะตา ฯ
สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง
อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโส ฯ



๑๔. คาถาแผ่เมตตา
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
๑๕. กรวดน้ำอิมินา
(นำ) ..........หันทะ มะยัง อุททิสะนาธิฏฐานะ คาถาโย ภะณามะ เส ฯ
(รับ) ..........อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา
อาจริยูปะการา จะ มาตา ปิตา จะ ญาตะกา (ปิยา มะมัง)
สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ
พรัหมะมารา จะ อินทา จะ โลกะปาลา จะ เทวะตา
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง ฯ
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิสเสนะ จะ
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปาทานะเฉทะนัง
เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา
มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม
พุทธาธิปะ วะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถ ตะโร มะมัง
เต โสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ
. ติโลกะวิชะยะราชะปัตติทานะคาถา”””””
ยังกิญจิ กุสะลัง กัมมัง กัตตัพพัง กิริยัง มะมะ
กาเยนะ วาจามะนะสา ติทะเส สุคะตัง กะตัง
เย สัตตา สัญญิโน อัตถิ เย จะ สัตตา อะสัญญิโน
กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต
เย ตัง กะตัง สุวิทิตัง ทินนัง ปุญญะผะลัง มะยา
เย จะ ตัตถะ นะ ชานันติ เทวา คันต์วา นิเวทะยุง
สัพเพ โลกัมหิ เย สัตตา ชีวันตาหาระเหตุกา
มะนุญญัง โภชะนัง สัพเพ ละภันตุ มะมะ เจตะสาติ ฯ
๑๖. ลาพระ
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ
(กราบอีก 3 ครั้ง)

(ไม่เกี่ยวกับบทสวด)
คำบูชาพระภูมิ
นะโมเม ชะยะ มังคะลัง ภูมิเทวานัง สักการะ วันธะนัง สาธุ สาธุ

เรื่องเล่า "เที่ยวอีสานใต้กันยา54"





























คณะผู้บริหารสถานศึกษา เครือข่าย อ.พนม ทัศนศึกษา และศึกษาดูงาน
“ลุงเล่า..เรื่อง...อีสานใต้...ให้หลานๆฟัง”
๓-๘ กันยายน ๒๕๕๔
บรรยายและภาพโดย....นายปณิธาน เรืองไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางปรุ อ.พนม
----------------------------------------------------------
วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๔ ลุงกับป้าเหม่งพร้อมคณะผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอพนม ๓๖ คน รวมทั้งผู้ติดตาม ขึ้นรถโดยสารปรับอากาศ “อดุลย์ พรจินดาทัวร์ หน้าตลาดพนม เวลา ๐๖.๐๙ น.

เวลา ๐๙.๐๐ น. แวะรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมและปั้มจิงโจ้ อำเภอหลังสวน ชุมพร
รถวิ่งยาวโดยประมาณ ๑ ชั่วโมงพักให้ทำธุระส่วนตัวตามแหล่งบริการน้ำมันเชื้อเพลิงครั้งหนึ่ง จนถึง จังหวัดนครราชสิมา เวลา ๒๒.๒๐ น. และเข้าพักที่ โรงแรม ดิ ไอยรา นครราชสีมา โดยลุง พักห้อง ๒๒๙ กับ ป้า(ผ.อ.ยุพิน เรืองไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางหิน)
ตลาดเช้ามีขายสินค้าหลายประเภทข้างโรงแรม ดิไอยรา นครราชสีมา
๔ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๗.๓๐ น. ออกเดินทาง และแวะลานย่าโม ในตัวเมือง เพื่อสักการะขอพรจาก แม่ย่าโม
ผ.อ.จตุพร พืชผล ผู้อำนวยการโรงเรียนตาขุนกับลุงถ่ายภาพหน้าประตูชุมพลก่อนลอดประตูออกไป
และ เวลา ๐๘.๐๐ น. ถึงบ้านด่านเกวียน จ.นครราชสีมา โดยแวะชม และซื้อรูปปั้นปูนทราย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตโดยตรง มีคนซื้อใส่รถมากมาย โดยลุงได้พระพิฆเณศวร และ ท่านท้าวเวสสุวรรณ ไว้บูชา เป็นรูปปั้นปูนทราย ส่วนแม่บ้าน(ผ.อ.ยุพิน) ได้แจกันใหญ่ ๒ ใบ ความสูงขนาดสะเอว และ ออกเดินทาง ๑๐.๐๐ น.
แวะทำธุระส่วนตัวบริเวณปั๊มน้ำมัน บางจาก อำเภอปราสาท จ.สุรินทร์ (โดยเดินทางผ่าน จ.สุรินทร์) บริเวณร้านกาแฟ ซึ่งจัดสวนอย่างสวยงาม และ ผ.อ.สุชาติ ครรชิต ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านอรุโณทัย ให้ถ่ายภาพไว้ดูตัวอย่างการจัดสวนหย่อม ออกเดินทาง เวลา ๑๒.๓๐ น. จน เวลา ๑๖.๓๐ น. เข้าพักที่โรงแรม รีเจนท์ จังหวัดอุบลราชธานี ขณะที่นั่งรถผ่านในตัวเมืองอุบลราชธานี ได้เห็น ป้ายโฆษณาที่แปลกกว่าที่อื่น โดยใส่แผ่นไวท์นิล ดังนี้ “เลือกศักดาไปทุบตึก “ขอให้ถูกรางวัลที่ ๑ พร้อมเจ๊กพอท” รับทุบตึกซื้อไม้เก่า” หลังจากเข้าที่พักแล้วคณะทัวร์ก็ตัวใครตัวมัน หาที่ชอบๆกันเอาเอง นัดพบที่ห้องอาหารของโรงแรมตอนเช้า ๐๖.๐๐ น.
วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ หลังจากรับอาหารเช้าที่โรงแรม รีเจนท์อุบลราชธานี เวลา ๐๗.๐๐ น. ออกเดินทางมุ่งหน้า ช่องเม็ก โดยถึงช่องเม็ก เวลา ๐๙.๐๐ น. ทำใบผ่านแดนชั่วคราว เพื่อเข้าไป ซื้อสินค้า บริเวณ “วังเต่า”ของประเทศลาว
ผ.อ.วิโรจน์ สุวรรณรักโชติ อดีต ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางปรุ และ อาตารย์วิโรจน์ ชูบำรุง อดีต ครูโรงเรียนชุมชนบ้านช่องม้าเหลียว ที่เกษียณแล้วก็ร่วมขบวนมาด้วย อีกภาพ ผ.อ.วีรพันธ์ วงค์รัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านใหญ่ กำลังสอบถามแม่บ้านทางมือถือว่าจะให้ซื้ออะไรไปฝากบ้าง
เสียเวลาเกือบชั่วโมง จึงได้เดินทาง ผ่านเข้าไปใน ประเทศลาว ได้เก็บภาพบริเวณตลาดชายแดนฝั่งประเทศลาวบ้านวังเต่าเวลา ๑๑.๐๐ น. กลับออกมาเข้าประเทศไทย โดยได้ของฝากกันมากมาย หลายคนก็ซื้อโทรศัพท์ ซึ่งผลิตในประเทศจีน ส่วนลุง มาหลายครั้ง เลยได้แต่ พระพิฆเนศ บางสำหรับคนค้าขายไว้บูชา เป็นลักษณะของเก่า สูงประมาณ ๑๕ เซนติเมตร เป็นโลหะทองเหลืองสีเขียว แม่ค้าว่าเขาส่งมาจากภาคเหนือของประเทศลาว เช่าในราคา ๔๕๐ บาท (อัตราเทียบเงิน ขณะนั้น ๑ บาท เท่ากับ ๒๕๐ กีบ) แต่คนที่ซวยที่สุด ที่ทราบมี ๓ คน คือ ป้าเหม่ง(ผ.อ.ยุพิน) กะป้าเภา(แม่บ้าน ผ.อ.สำรอง จันทวี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำวราราม โดนแม่ค้าหลอกให้ซื้อ ต้นกล้วยไม้ คนละ ๕๐๐-๖๐๐ บาท แล้วโดนยึดเสียที่ด่าน และป้าติ๋ม (แม่บ้าน ผ.อ.สุจิน น้อมเกตุ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านจำปาทอง) ซื้อ ซีรี่หนังเกาหลี โดนยึดที่ด่านเหมือนกัน
และเวลา ๑๗.๒๐ น. ถึง ช่องจอม ชายแดนไทย –เขมร อำเภอกาบเชิง จ.สุรินทร์ ฝั่งไทยเป็นสำนักงานของกรมป่าไม้ไม่มีอาคารบ้านคน แต่เป็นที่สังเกต มีตู้ เอ ที เอ็ม หลายธนาคารมาตั้งอยู่ เพราะข้ามไปฝั่งเขมร มีบ่อนกาสิโน ซึ่งคนไทยข้ามไปเสี่ยงโชคกันมากมาย คนรถบอกว่าหากเป็นวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดไม่มีที่จอดรถเลย คนมากันมาก ขนาดที่ไปถึงเย็นแล้ว ยังมากรถเยอะมาก ซึ่งที่ไปเป็นวันธรรมดา เดิมอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายห้วยทับทัน-ห้วยสำราญและประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตั้งแต่ 30 ธันวาคม 2538 ฝั่งตรงข้ามด้านกัมพูชาเป็นชุมชนโอร์เสม็ด อำเภอสำโรง จังหวัดอุดรมีชัยช่องจอมเป็นเส้นทางข้ามแดนที่ใหญ่และสะดวกที่สุดของจังหวัดสุรินทร์ที่จะไปยังกัมพูชา ทำให้มีการติดต่อสัญจรไปมาและตลาดการค้าช่องจอมตั้งอยู่ที่บ้านด่านพัฒนา ตำบลด่าน ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 69 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวอำเภอกาบเชิง 13 กิโลเมตร
สมาชิกทัวร์ก็ข้ามไปดูกันหลายคน แต่ก็ประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็น ไม่ได้ข้ามไป รวมถึงลุงและแม่บ้านด้วยรออยู่บนรถทัวร์ในฝั่งไทยโดยผู้บรรยายอ่านหนังสือนิยายรักหวานแหววเป็นการฆ่าเวลา ตั้งแต่เริ่มเดินทางออกจากอำเภอพนม หมดไปประมาณ ๑๐ เล่มแล้ว โดยหาซื้อตามปั๊มน้ำมันที่รถจอด เวลา ๒๐.๓๐ น. ถึงโรงแรมเพชรเกษม แกรนด์ โฮเต็ล จ.สุรินทร์ และได้เข้าพักที่นี่
นั่งรอเตรียมความพร้อมหน้าโรงแรมก่อนขึ้นรถเดินทางต่อ ผ.อ.วิสันต์ พาหะมาก ร.ร.บ้านแสนสุขก็นั่งด้วย

วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ หลังจากรับอาหารเช้าที่โรงแรมจัดให้ เวลา ๐๗.๓๐ น. ออกเดินทาง
แวะทำธุระส่วนตัวบริเวณสถานีบริการน้ำมัน และชิมกาแฟสด ประมาณ ๑๐ นาที ผอ.สมพร ทองยวน ทำธุระ
ควันไฟ และ ถึงปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เวลา ๐๙.๑๕ น.ตั้งอยู่ที่บ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ การชมสถานที่นี้ต้องเดินขึ้นไปประมาณ ๑ กิโลเมตรกว่าๆ และทีมงานให้เวลาน้อยจึงไม่ค่อยได้ชมอะไรมากนักโดยนัดพบกันที่รถ เวลา ๑๐.๓๐ น.

ทางขึ้น ริมทางจะมีร้านขายของที่ระลึก ผ.อ.นรินธร ควง ผ.อ.อำนาจ ศรีเทพ ร.ร.บ้านต้นยวน ลุงถ่ายกับเพื่อน ผ.อ.วิสันต์
และลุงเป็นแบบถ่ายโดย”ลุงพร” ผ.อ.สมพร ทองยวน ต่อมา ผ.อ.นรินธร เซ่งล้ำ ร.ร.บ้านป่าตง เดินนำขบวน
ความพยายามของนักท่องเที่ยวกว่าจะเดินถึงตัวปราสาทเขาพนมรุ้งถึงกับคลานไปก็มี ในตัวปราสาทมีรูปปั้น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในตัวปราสาท องค์ศิวลึงค์ และพระโค
ปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 จารึกต่างๆที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ.1487 – 1511)ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่ขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรกๆคงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ.1511 – 1544)ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง
พนมรุ้ง เป็นชื่อดั้งเดิม ซึ่งปรากฏหลักฐานตามศิลาจารึกที่ค้นพบปราสาทแห่งนี้ ปราสาทพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือ พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้น เขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้า หรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน ถัดจากนั้นเป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่าเสานางเรียง จำนวนข้างละ 34 ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด ในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผู้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วงๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤาษีซึ่งหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย ปราสาทประธาน ก่อด้วยหินทรายสีชมพูมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมกว้าง 8.20 เมตรสูง 27 เมตร ด้านหน้าทำเป็นมณฑปโดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธานนี้ เชื่อว่า สร้างโดย นเรนทราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้นำปกครองชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ราว พุทธศตวรรษที่ 17 ภายในเรือนธาตุตรงกึ่งกลาง เรียกว่าห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด ในที่นี้คือ ศิวลึงค์ ซึ่งแทนองค์พระศิวะ เป็นที่น่าเสียดายว่า ประติมากรรมชิ้นนี้ได้สูญหายไป เหลือเพียงแต่ ท่อโสมสูตร คือร่องน้ำมนต์ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวะลึงค์เท่านั้น ทางเดินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีปราสาทอิฐสององค์และปรางค์น้อย จากหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม กล่าวได้ว่า ปราสาททั้งสามหลังได้สร้างขึ้นก่อนปราสาทประธานราวพุทธศตวรรษที่ 15 และ 16 ตาลำดับ ส่วนทางด้านหน้าของปราสาทประธาน คือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอา๕รสองหลัง ก่อด้วยศิลาแลง เรียกว่าบรรณาลัย ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา ก่อสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18
ที่บริเวณหน้าบันและทับหลังของปราสาทประธานมีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู เช่นพระศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ) พระนารายณ์บรรทมสินธุ์อวตารของพระนารายณ์ เช่น พระรามในเรื่องรามเกียรติ์ หรือพระกฤษณะ ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤาษีเป็นต้น
เวลา ๑๓.๓๐ น. ถึง ตลาดโรงเกลือ ซึ่งเป็นชายแดนไทย-เขมร แต่ตลาดอยู่ฝั่งไทย อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว แวะซื้อของ สิ้นค้าสวนมากจะเป็นเสื้อผ้ามือสอง

เวลา ๑๖.๓๐ น. ถึงโรงแรม พีพี โฮเตล แอนด์สปอร์ตคลับ ซึ่งอยู่นอกเมืองสระแก้ว โดยคืนนี้พักที่นี่ และมีการจัดเลี้ยงส่ง ให้กับผู้ที่เกษียณราชการ โดยร่วมกับเครือข่ายอำเภอท่าชนะ ในส่วนของอำเภอพนม มี ผ.อ.โสภณ คงไล่ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพังกาญจน์ ผ.อ.สำรอง จันทร์ทวี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำวราราม ผ.อ.สมพร ทองยวน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดธัญญาราม ผ.อ.สุจิน น้อมเกตุ ผ.อ.โรงเรียนบ้านจำปาทอง และ ผ.อ.เฉลิม เกตุพงษ์พันธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองชะอุ่น และ คุณครูนิรมล สุวรรณรักโชติ ว่างๆเก็บภาพถ่ายการจัดภูมิทัศน์รอบๆโรงแรมที่พักให้ดูเล่นๆกลางคืนมีงานเลี้ยงและ สันทนาการร่วมรำวง มีการ มอบดอกไม้ให้แก่ผู้เกษียณอายุราชการเพื่อเป็นกำลังใจ รอง ผ.อ.เขต มณีโชติ แพเรือง และแม่บ้าน (ผ.อ.ปลา)ก็ร่วมขบวนมาด้วย
วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ รับอาหารเช้าที่โรงแรม ออกเดินทาง สู่กรุงเทพ เข้าพักที่โรงแรม แปซิฟิก
วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๔ เดินทางกลับ อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี ถึงเวลา ๒๐.๐๐ น. การศึกษาดูงานครั้งนี้ไม่ใช้งบประมาณของทางราชการใดๆทั้งสิ้น เกิดจากการลงขันของผู้ร่วมเดินทางทุกคน ยกเว้นผู้ที่เกษียณ