วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เรื่องเล่า "เที่ยวอีสานใต้กันยา54"





























คณะผู้บริหารสถานศึกษา เครือข่าย อ.พนม ทัศนศึกษา และศึกษาดูงาน
“ลุงเล่า..เรื่อง...อีสานใต้...ให้หลานๆฟัง”
๓-๘ กันยายน ๒๕๕๔
บรรยายและภาพโดย....นายปณิธาน เรืองไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางปรุ อ.พนม
----------------------------------------------------------
วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๔ ลุงกับป้าเหม่งพร้อมคณะผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอพนม ๓๖ คน รวมทั้งผู้ติดตาม ขึ้นรถโดยสารปรับอากาศ “อดุลย์ พรจินดาทัวร์ หน้าตลาดพนม เวลา ๐๖.๐๙ น.

เวลา ๐๙.๐๐ น. แวะรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรมและปั้มจิงโจ้ อำเภอหลังสวน ชุมพร
รถวิ่งยาวโดยประมาณ ๑ ชั่วโมงพักให้ทำธุระส่วนตัวตามแหล่งบริการน้ำมันเชื้อเพลิงครั้งหนึ่ง จนถึง จังหวัดนครราชสิมา เวลา ๒๒.๒๐ น. และเข้าพักที่ โรงแรม ดิ ไอยรา นครราชสีมา โดยลุง พักห้อง ๒๒๙ กับ ป้า(ผ.อ.ยุพิน เรืองไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางหิน)
ตลาดเช้ามีขายสินค้าหลายประเภทข้างโรงแรม ดิไอยรา นครราชสีมา
๔ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๗.๓๐ น. ออกเดินทาง และแวะลานย่าโม ในตัวเมือง เพื่อสักการะขอพรจาก แม่ย่าโม
ผ.อ.จตุพร พืชผล ผู้อำนวยการโรงเรียนตาขุนกับลุงถ่ายภาพหน้าประตูชุมพลก่อนลอดประตูออกไป
และ เวลา ๐๘.๐๐ น. ถึงบ้านด่านเกวียน จ.นครราชสีมา โดยแวะชม และซื้อรูปปั้นปูนทราย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตโดยตรง มีคนซื้อใส่รถมากมาย โดยลุงได้พระพิฆเณศวร และ ท่านท้าวเวสสุวรรณ ไว้บูชา เป็นรูปปั้นปูนทราย ส่วนแม่บ้าน(ผ.อ.ยุพิน) ได้แจกันใหญ่ ๒ ใบ ความสูงขนาดสะเอว และ ออกเดินทาง ๑๐.๐๐ น.
แวะทำธุระส่วนตัวบริเวณปั๊มน้ำมัน บางจาก อำเภอปราสาท จ.สุรินทร์ (โดยเดินทางผ่าน จ.สุรินทร์) บริเวณร้านกาแฟ ซึ่งจัดสวนอย่างสวยงาม และ ผ.อ.สุชาติ ครรชิต ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านอรุโณทัย ให้ถ่ายภาพไว้ดูตัวอย่างการจัดสวนหย่อม ออกเดินทาง เวลา ๑๒.๓๐ น. จน เวลา ๑๖.๓๐ น. เข้าพักที่โรงแรม รีเจนท์ จังหวัดอุบลราชธานี ขณะที่นั่งรถผ่านในตัวเมืองอุบลราชธานี ได้เห็น ป้ายโฆษณาที่แปลกกว่าที่อื่น โดยใส่แผ่นไวท์นิล ดังนี้ “เลือกศักดาไปทุบตึก “ขอให้ถูกรางวัลที่ ๑ พร้อมเจ๊กพอท” รับทุบตึกซื้อไม้เก่า” หลังจากเข้าที่พักแล้วคณะทัวร์ก็ตัวใครตัวมัน หาที่ชอบๆกันเอาเอง นัดพบที่ห้องอาหารของโรงแรมตอนเช้า ๐๖.๐๐ น.
วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ หลังจากรับอาหารเช้าที่โรงแรม รีเจนท์อุบลราชธานี เวลา ๐๗.๐๐ น. ออกเดินทางมุ่งหน้า ช่องเม็ก โดยถึงช่องเม็ก เวลา ๐๙.๐๐ น. ทำใบผ่านแดนชั่วคราว เพื่อเข้าไป ซื้อสินค้า บริเวณ “วังเต่า”ของประเทศลาว
ผ.อ.วิโรจน์ สุวรรณรักโชติ อดีต ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางปรุ และ อาตารย์วิโรจน์ ชูบำรุง อดีต ครูโรงเรียนชุมชนบ้านช่องม้าเหลียว ที่เกษียณแล้วก็ร่วมขบวนมาด้วย อีกภาพ ผ.อ.วีรพันธ์ วงค์รัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านใหญ่ กำลังสอบถามแม่บ้านทางมือถือว่าจะให้ซื้ออะไรไปฝากบ้าง
เสียเวลาเกือบชั่วโมง จึงได้เดินทาง ผ่านเข้าไปใน ประเทศลาว ได้เก็บภาพบริเวณตลาดชายแดนฝั่งประเทศลาวบ้านวังเต่าเวลา ๑๑.๐๐ น. กลับออกมาเข้าประเทศไทย โดยได้ของฝากกันมากมาย หลายคนก็ซื้อโทรศัพท์ ซึ่งผลิตในประเทศจีน ส่วนลุง มาหลายครั้ง เลยได้แต่ พระพิฆเนศ บางสำหรับคนค้าขายไว้บูชา เป็นลักษณะของเก่า สูงประมาณ ๑๕ เซนติเมตร เป็นโลหะทองเหลืองสีเขียว แม่ค้าว่าเขาส่งมาจากภาคเหนือของประเทศลาว เช่าในราคา ๔๕๐ บาท (อัตราเทียบเงิน ขณะนั้น ๑ บาท เท่ากับ ๒๕๐ กีบ) แต่คนที่ซวยที่สุด ที่ทราบมี ๓ คน คือ ป้าเหม่ง(ผ.อ.ยุพิน) กะป้าเภา(แม่บ้าน ผ.อ.สำรอง จันทวี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำวราราม โดนแม่ค้าหลอกให้ซื้อ ต้นกล้วยไม้ คนละ ๕๐๐-๖๐๐ บาท แล้วโดนยึดเสียที่ด่าน และป้าติ๋ม (แม่บ้าน ผ.อ.สุจิน น้อมเกตุ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านจำปาทอง) ซื้อ ซีรี่หนังเกาหลี โดนยึดที่ด่านเหมือนกัน
และเวลา ๑๗.๒๐ น. ถึง ช่องจอม ชายแดนไทย –เขมร อำเภอกาบเชิง จ.สุรินทร์ ฝั่งไทยเป็นสำนักงานของกรมป่าไม้ไม่มีอาคารบ้านคน แต่เป็นที่สังเกต มีตู้ เอ ที เอ็ม หลายธนาคารมาตั้งอยู่ เพราะข้ามไปฝั่งเขมร มีบ่อนกาสิโน ซึ่งคนไทยข้ามไปเสี่ยงโชคกันมากมาย คนรถบอกว่าหากเป็นวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดไม่มีที่จอดรถเลย คนมากันมาก ขนาดที่ไปถึงเย็นแล้ว ยังมากรถเยอะมาก ซึ่งที่ไปเป็นวันธรรมดา เดิมอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายห้วยทับทัน-ห้วยสำราญและประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตั้งแต่ 30 ธันวาคม 2538 ฝั่งตรงข้ามด้านกัมพูชาเป็นชุมชนโอร์เสม็ด อำเภอสำโรง จังหวัดอุดรมีชัยช่องจอมเป็นเส้นทางข้ามแดนที่ใหญ่และสะดวกที่สุดของจังหวัดสุรินทร์ที่จะไปยังกัมพูชา ทำให้มีการติดต่อสัญจรไปมาและตลาดการค้าช่องจอมตั้งอยู่ที่บ้านด่านพัฒนา ตำบลด่าน ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 69 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวอำเภอกาบเชิง 13 กิโลเมตร
สมาชิกทัวร์ก็ข้ามไปดูกันหลายคน แต่ก็ประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็น ไม่ได้ข้ามไป รวมถึงลุงและแม่บ้านด้วยรออยู่บนรถทัวร์ในฝั่งไทยโดยผู้บรรยายอ่านหนังสือนิยายรักหวานแหววเป็นการฆ่าเวลา ตั้งแต่เริ่มเดินทางออกจากอำเภอพนม หมดไปประมาณ ๑๐ เล่มแล้ว โดยหาซื้อตามปั๊มน้ำมันที่รถจอด เวลา ๒๐.๓๐ น. ถึงโรงแรมเพชรเกษม แกรนด์ โฮเต็ล จ.สุรินทร์ และได้เข้าพักที่นี่
นั่งรอเตรียมความพร้อมหน้าโรงแรมก่อนขึ้นรถเดินทางต่อ ผ.อ.วิสันต์ พาหะมาก ร.ร.บ้านแสนสุขก็นั่งด้วย

วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ หลังจากรับอาหารเช้าที่โรงแรมจัดให้ เวลา ๐๗.๓๐ น. ออกเดินทาง
แวะทำธุระส่วนตัวบริเวณสถานีบริการน้ำมัน และชิมกาแฟสด ประมาณ ๑๐ นาที ผอ.สมพร ทองยวน ทำธุระ
ควันไฟ และ ถึงปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เวลา ๐๙.๑๕ น.ตั้งอยู่ที่บ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ การชมสถานที่นี้ต้องเดินขึ้นไปประมาณ ๑ กิโลเมตรกว่าๆ และทีมงานให้เวลาน้อยจึงไม่ค่อยได้ชมอะไรมากนักโดยนัดพบกันที่รถ เวลา ๑๐.๓๐ น.

ทางขึ้น ริมทางจะมีร้านขายของที่ระลึก ผ.อ.นรินธร ควง ผ.อ.อำนาจ ศรีเทพ ร.ร.บ้านต้นยวน ลุงถ่ายกับเพื่อน ผ.อ.วิสันต์
และลุงเป็นแบบถ่ายโดย”ลุงพร” ผ.อ.สมพร ทองยวน ต่อมา ผ.อ.นรินธร เซ่งล้ำ ร.ร.บ้านป่าตง เดินนำขบวน
ความพยายามของนักท่องเที่ยวกว่าจะเดินถึงตัวปราสาทเขาพนมรุ้งถึงกับคลานไปก็มี ในตัวปราสาทมีรูปปั้น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในตัวปราสาท องค์ศิวลึงค์ และพระโค
ปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 จารึกต่างๆที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ.1487 – 1511)ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่ขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรกๆคงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ.1511 – 1544)ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง
พนมรุ้ง เป็นชื่อดั้งเดิม ซึ่งปรากฏหลักฐานตามศิลาจารึกที่ค้นพบปราสาทแห่งนี้ ปราสาทพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือ พระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้น เขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้า หรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน ถัดจากนั้นเป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่าเสานางเรียง จำนวนข้างละ 34 ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด ในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผู้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วงๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤาษีซึ่งหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย ปราสาทประธาน ก่อด้วยหินทรายสีชมพูมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมกว้าง 8.20 เมตรสูง 27 เมตร ด้านหน้าทำเป็นมณฑปโดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธานนี้ เชื่อว่า สร้างโดย นเรนทราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้นำปกครองชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ราว พุทธศตวรรษที่ 17 ภายในเรือนธาตุตรงกึ่งกลาง เรียกว่าห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด ในที่นี้คือ ศิวลึงค์ ซึ่งแทนองค์พระศิวะ เป็นที่น่าเสียดายว่า ประติมากรรมชิ้นนี้ได้สูญหายไป เหลือเพียงแต่ ท่อโสมสูตร คือร่องน้ำมนต์ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวะลึงค์เท่านั้น ทางเดินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีปราสาทอิฐสององค์และปรางค์น้อย จากหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม กล่าวได้ว่า ปราสาททั้งสามหลังได้สร้างขึ้นก่อนปราสาทประธานราวพุทธศตวรรษที่ 15 และ 16 ตาลำดับ ส่วนทางด้านหน้าของปราสาทประธาน คือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอา๕รสองหลัง ก่อด้วยศิลาแลง เรียกว่าบรรณาลัย ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา ก่อสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18
ที่บริเวณหน้าบันและทับหลังของปราสาทประธานมีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู เช่นพระศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ) พระนารายณ์บรรทมสินธุ์อวตารของพระนารายณ์ เช่น พระรามในเรื่องรามเกียรติ์ หรือพระกฤษณะ ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤาษีเป็นต้น
เวลา ๑๓.๓๐ น. ถึง ตลาดโรงเกลือ ซึ่งเป็นชายแดนไทย-เขมร แต่ตลาดอยู่ฝั่งไทย อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว แวะซื้อของ สิ้นค้าสวนมากจะเป็นเสื้อผ้ามือสอง

เวลา ๑๖.๓๐ น. ถึงโรงแรม พีพี โฮเตล แอนด์สปอร์ตคลับ ซึ่งอยู่นอกเมืองสระแก้ว โดยคืนนี้พักที่นี่ และมีการจัดเลี้ยงส่ง ให้กับผู้ที่เกษียณราชการ โดยร่วมกับเครือข่ายอำเภอท่าชนะ ในส่วนของอำเภอพนม มี ผ.อ.โสภณ คงไล่ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพังกาญจน์ ผ.อ.สำรอง จันทร์ทวี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำวราราม ผ.อ.สมพร ทองยวน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดธัญญาราม ผ.อ.สุจิน น้อมเกตุ ผ.อ.โรงเรียนบ้านจำปาทอง และ ผ.อ.เฉลิม เกตุพงษ์พันธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองชะอุ่น และ คุณครูนิรมล สุวรรณรักโชติ ว่างๆเก็บภาพถ่ายการจัดภูมิทัศน์รอบๆโรงแรมที่พักให้ดูเล่นๆกลางคืนมีงานเลี้ยงและ สันทนาการร่วมรำวง มีการ มอบดอกไม้ให้แก่ผู้เกษียณอายุราชการเพื่อเป็นกำลังใจ รอง ผ.อ.เขต มณีโชติ แพเรือง และแม่บ้าน (ผ.อ.ปลา)ก็ร่วมขบวนมาด้วย
วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ รับอาหารเช้าที่โรงแรม ออกเดินทาง สู่กรุงเทพ เข้าพักที่โรงแรม แปซิฟิก
วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๔ เดินทางกลับ อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี ถึงเวลา ๒๐.๐๐ น. การศึกษาดูงานครั้งนี้ไม่ใช้งบประมาณของทางราชการใดๆทั้งสิ้น เกิดจากการลงขันของผู้ร่วมเดินทางทุกคน ยกเว้นผู้ที่เกษียณ